การพัฒนาระบบ E-Learning เพื่อให้ความรู้กฎหมาย ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ สำหรับผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบ
คำสำคัญ:
บทเรียน E-Learning, การพัฒนา, กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อจัดทำระบบ E-learning ให้ผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบได้เรียนรู้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียน ก่อนและหลังเรียนผ่านระบบ E-Learning 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนผ่านระบบ E-Learning เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบบทเรียน E-Learning พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) จากผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบที่มีใบอนุญาตขายสุราและยาสูบ ประเภท 1 และ 2 ในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ หลังการเข้าเรียนระบบ E-Learning สูงกว่าก่อนการเข้าเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การสํารวจความพึงพอใจของผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบที่มีต่อบทเรียน E- Learning พบว่า ผู้ประกอบการขายสุราและยาสูบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยได้เท่ากับ 4.40
References
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจําปี พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จํากัด; 2560.
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Geneva: World Health Organization; 2018.
สํานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ไอคอนพริ้นติ้ง; 2561.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. การสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุราของประชากรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2561.
สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. รายงานผลการดําเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. เอกสารประกอบการประชุม. สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์; 2560.
สํานักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 22.กรุงเทพฯ:อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. รวมกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.
นเรศ ขันธะรี. การพัฒนาบทเรียน E-learning รายวิชาการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สําหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต 2558; 15: 292-298.
NutbeamD. Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the21st century. Health Promotion International; 2000.
พัฒนพงศ์ ไพศาลธรรม, พัชราพรรณ อภิวงค์, พิชชานันท์ นิธิเปรมะพัฒน์, พิชญดา ทะนงนาค, พิชญาดา ศรีเงิน, พิมชนก พุธเหียง และคณะ. ความพึงพอใจต่อการใช้สื่อการเรียนรู้E-learning ในการเรียนการสอนของนิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาวิจัยเบื้องต้นทางการพยาบาล มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2562.
อนุชา สะเล็ม. การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอน วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ มีนบุรี. [สารนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2560.
วิจิตร สมบัติวงศ์. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning). [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2549.
จตุพร ศิริวัฒนสกุล. ความคิดเห็นต่อการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (E- Learning) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร. [ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2545.