การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ 5 มิติ กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เขตสุขภาพที่ 8 ปี พ.ศ. 2565

ผู้แต่ง

  • ภาสินี ม่วงใจเพชร
  • พูลทรัพย์ โพนสิงห์

คำสำคัญ:

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน, ระบบเฝ้าระวัง 5 มิติ, เขตสุขภาพที่ 8

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มสถานการณ์ และข้อมูลการเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน และเพื่อหามาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันโรค เขตสุขภาพที่ 8 โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่น และข้อมูลการเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวเนื่องจากฝุ่น จำแนกตามระบบเฝ้าระวังโรค 5 มิติ ได้แก่ ปัจจัยต้นเหตุ พฤติกรรมเสี่ยง ข้อมูลการเจ็บป่วย/การตาย เหตุการณ์ผิดปกติ และการตอบสนองแผนงานควบคุมโรค

ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน พบสัดส่วนในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจมากที่สุด (ร้อยละ 43.82) โดยอัตราป่วยตั้งแต่ปี 2564 - 2565 พบมีแนวโน้มสูงในช่วงเดือนมกราคมถึง มีนาคม จังหวัดที่มีจำนวนวันที่ฝุ่นเกินค่ามาตรฐานสูงสุด ได้แก่ หนองคาย นครพนม และบึงกาฬ การเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดฝุ่น พบจุดความร้อนสะสมสูงสุดในพื้นที่จังหวัดสกลนคร อุดรธานี และจังหวัดเลย ตามลำดับ โดยพบมากในพื้นที่การเกษตร ร้อยละ 35.04 พื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ร้อยละ 20.95 และป่าสงวน ร้อยละ 19.27 การเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสฝุ่น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการป้องกันตนเองเป็นประจำมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย และไม่เผาขยะในที่โล่งแจ้ง การตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติผ่านโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดยังมีข้อจำกัด จึงใช้การเฝ้าระวังจากเครือข่ายเป็นหลัก แผนการตอบสนองต่อการควบคุมสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน มีการดำเนินการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการระดับจังหวัดร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น จากผลการศึกษา ควรมีการผลักดันให้สถานพยาบาลมีการลงรหัสโรค (ICD-10) ที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ในพื้นที่ และเพิ่มช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง ประเด็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเยาวชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองที่เหมาะสม

References

กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ กรณีหมอกควัน [อินเตอร์เน็ต] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://hia.anamai.moph.go.th/download/hia/manual/book/book43.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) [อินเตอร์เน็ต] 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https:// hia.anamai.moph.go.th/th/handbook/

ภัทิรา ตันติภาสวศิน , สิทธิชัย ตันติภาสวศิน. ฝุ่นพิษ PM2.5. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี [อินเตอร์เน็ต] 2563. [เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2565]; 45(1): 55-64. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaidj.org/ index.php/ CHJ/ article/download/8502/8320/12978

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบเฝ้าระวัง 5 กลุ่มโรค 5 มิติ. [อินเตอร์เน็ต] 2561. [เข้าถึงเมื่อ 31 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://e-lib.ddc.moph.go.th/book_details.php?id=8544&type=1

จินตนา ประชุมพันธ์. PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ กับวิกฤติสุขภาพที่คนไทยจะต้องแลก [อินเตอร์เน็ต] 2561. [เข้าถึงเมื่อ 17 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/.

กรวิภา ปุณณศิริ และคณะ. การศึกษาผลกระทบและคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศและการพัฒนาดัชนีสุขภาพอันเนื่องมาจากคุณภาพอากาศของประเทศไทย [เอกสารอัดสำเนา]. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

รัชนีวรรณ คำตัน, ขนิษฐา เสถียรพีระกุล, ฑีฆา โยธาภักดี, เก นันทะเสน. ปัญหาหมอกควันและผลกระทบด้านสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการวิจัย [อินเตอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]; 8(S2019): 265-273. เข้าถึงได้จาก: https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/243646

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันปี 2564 โดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. [เอกสารอัดสำเนา]; 2564.

กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงสุขภาพจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก [ออนไลน์] 2558. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://hia.anamai.moph.go.th /download/hia/manual/book/book44.pdf.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจผลกระทบต่อสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 [อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://4health.anamai.moph.go.th/dashboard

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต] 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://air4thai.pcd.go.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022