การพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังโรค ZR506 Dashboard รู้ทันป้องกันได้ เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ สุกาวงค์ -
  • ระพีพร กรมธรรมา
  • ณัฐพันธ์ สิงหาพรหม
  • จารุวรรณ สารพล

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การพัฒนาระบบเฝ้าระวัง, 506, ZR506, Dashboard, สคร.8

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินความพึงพอใจโปรแกรมเฝ้าระวังโรค ZR506 Dashboard รู้ทันป้องกันได้ เขตสุขภาพที่ 8  วิธีการศึกษาประกอบด้วย การสำรวจสภาพปัญหาความคาดหวังหลักการ แนวคิด ทฤษฎี ความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา ออกแบบพัฒนานวัตกรรม ทดลองใช้ ปรับปรุง และประเมินผลความพึงพอใจ ผลการศึกษาโปรแกรมเฝ้าระวังโรค ZR506 Dashboard รู้ทันป้องกันได้เขตสุขภาพที่ 8 ถูกเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี เครือข่ายระบาดวิทยาในพื้นที่เข้ามาใช้ประโยชน์เพื่อสอบสวนควบคุมโรค 584 ครั้ง (เฉลี่ย 146 ครั้ง/เดือน) ลดระยะเวลาปฏิบัติงานของทีมตระหนักรู้สถานการณ์ได้ 3 ชั่วโมง 19 นาทีต่อสัปดาห์ จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพบว่ากลุ่มผู้บริหารให้ข้อเสนอว่าควรพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคติดต่อ สามารถเชื่อมโยงกับระบบหมอพร้อม ระบบ D506 และการระบบ Co-Lab ได้ การพัฒนาระบบที่ไม่เพิ่มภาระงานของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว ผลการประเมินความพึงพอใจส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรคในพื้นที่ จัดทำรายงานเสนอผู้บริหารใช้เป็นตัวอย่างในการทำสื่อสถานการณ์ประจำวัน (33.3%) ความพึงพอใจด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ความพึงพอใจด้านการนำไปใช้ประโยชน์อยู่ในระดับดี การพัฒนาโปรแกรมในครั้งนี้สามารถนำไปขยายผลและใช้ประโยชน์ในเขตสุขภาพอื่นต่อไปได้

References

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กำเนิด รง.506 ต้นแบบและตำนานรายงานทางระบาดวิทยา. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติ ครั้งที่ 24; 21-25 พฤศจิกายน 2565; ขอนแก่น.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งในกรณีที่มีโรคติดต่ออันตรายโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น พ.ศ.2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก :https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/003_7gcd.PDF

GotoKnow. มาตรวัดเจตคติแบบลิเคิร์ท (Likert rating scales). [อินเทอร์เน็ต]. 2562 เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก :https://www.gotoknow.org/posts/659229

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:แคนนา กราฟฟิค; 2563.

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์. ทฤษฎีด้านนวัตกรรม Innovation Theory. วารสารเซนต์จอห์น. [อินเทอร์เน็ต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิถุนายน2565].เข้าถึงได้จาก:https://sju.ac.th/pap_file/a96c0e1e91fc860c1ee2e155f088ab71.pdf.

ชลิตา อิสสระสิทธิภาพ. คู่มือการใช้งานโปรแกรม Tableau เบื้องต้น[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ14 มิถุนายน2565]เข้าถึงได้จาก:https://www.si.mahidol.ac.th/siit/admin/download_files/165_1_1.pdf

Sithipat F.Tableau prep builder เครื่องมือจัดการข้อมูล (Cleansing Data) ก่อนทำ Analytics [อินเทอร์เน็ต].2561[เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://zygencenter.com/ tableau-prep-builder-data-conversion-tool/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รายสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี กรมควบคุมโรค. โปรแกรม COVID-19 ODPC8 DASHBOARD "รู้ทัน ป้องกันได้" เขตสุขภาพที่ 8 [อินเตอร์เน็ต].2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://dvis3.ddc.moph.go.th/t/DDC_ODPC/views/COVID19_ODPC8/Dashboard1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023