สถานการณ์และการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงของการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 ปี พ.ศ. 2560-2564

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย มานะเฝ้า -

คำสำคัญ:

การจมน้ำเสียชีวิตในเด็ก , สถานการณ์ , การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง , เขตสุขภาพที่ 6

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Descriptive Cross-sectional study) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจมน้ำเสียชีวิต ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 และวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 6 โดยใช้ข้อมูลผู้เสียชีวิตอายุต่ำกว่า 15 ปี จากใบมรณบัตร กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ.2560-2564 ที่มีสาเหตุการเสียชีวิตจาก                       การวินิจฉัยโรคตาม ICD-10 รหัส W65-W74 จำนวน 311 ราย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ สัดส่วน และอัตราการจมน้ำเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคน ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95%  ผลการศึกษาพบว่า                         เขตสุขภาพที่ 6 มีอัตราการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2560–2564  ที่อัตรา 7.9, 6.7, 7.4, 6.1 และ 8.7 ต่อประชากรเด็กแสนคน ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบเสียชีวิตมากที่สุดคือ กลุ่มอายุ 0-4 ปี 135 ราย (ร้อยละ 43.41) พบการจมน้ำส่วนใหญ่ในเพศชายในอัตราส่วน 3 : 1 เด็กจะจมน้ำช่วงปิดเทอม (มี.ค.-พ.ค.) มากที่สุด (ร้อยละ 27.65) อัตราการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2560 มากกว่าร้อยละ 11.53 ในปีพ.ศ. 2564 จังหวัดที่มีอัตราการเสียชีวิตในช่วง 5 ปี สูงสุด ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดสมุทรปราการพบอัตราการเสียชีวิตต่ำสุด เมื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง เขตสุขภาพที่ 6 จัดเป็นพื้นที่เสี่ยงปานกลางต่อการจมน้ำในเด็ก ดังนั้นควรมีมาตรการเชิงรุกในเขตสุขภาพที่ 6 ด้านการป้องกันการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการจมน้ำสูง เพื่อให้เด็กสามารถมีความรู้และทักษะการเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำเพื่อลดความรุนแรงของเหตุการณ์และป้องกันการเสียชีวิตได้

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2561.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำเขตสุขภาพที่ 6 ปี พ.ศ. 2560-2564 [ไฟล์ข้อมูล]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2565.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. หลักสูตรผู้จัดการแผนงานป้องกันการจมน้ำ (Drowning-Prevention Course for Program Manager). นนทบุรี: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด; 2563.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค.แนวทางประเมินผู้ก่อการดี การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำ(ฉบับปรับปรุง ปี 2563). นนทบุรี: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด; 2563.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559-2562. นนทบุรี: บริษัท รำไทยเพรส จำกัด; 2565.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. หลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและคู่มือการสอน[อินเทอร์เน็ต].2552 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/document/file/download/papermanual/Survival%20Swimming%20Curriculum.pdf

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือปฎิบัติการการป้องกันการจมน้ำ.[อินเทอร์เน็ต].2560 [เข้าถึงเมื่อ 3 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จากhttp://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=13192&tid=37&gid=1-015-005

ไพบูลย์ โล่สุนทร. ระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ, สุชาดา เกิดมงคลการ.สถานการณ์และมาตรการป้องกันการจมน้ำของเด็กในประเทศไทย.วารสารควบคุมโรค. 2551;34(3):247-256.

นันทพร กลิ่นจันทร์, แสงโฉม ศิริพานิช, พันธนีย์ ธิติชัย, จรรยา อุปมัย, วรรณา โบราณินทร์. การศึกษาระบบข้อมูลการบาดเจ็บจากการตกน้ำ จมน้ำในจังหวัดสงขลา ปี 2560.วารสารควบคุมโรค. 2564;47:186-198.

กชรดา ศิริผล, จันจิรา มหาบุญ, จำนงค์ ธนะภพ. การประเมินผลการดำเนินงานป้องกันเด็กจมน้ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารควบคุมโรค. 2562;45(2):169-179.

World Health Organization. Preventing drowning: an implementation guide [Internet]. 2017 [2022 Oct 3]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/9789241511933

World Health Organization. Global report on drowning: preventing a leading killer [Internet]. 2014 [cited 2022 Oct 3]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/global-report-on-drowning-preventing-a-leading-killer

World Health Organization. Drowning Fact-sheets. [Internet]. 2019[cited 2022 Oct 3]. Available from: https://www.who.int/newsroom/fact-sheets/detail/drowning

Saunders CJ, Sewduth D, Naidoo N. Keeping our heads above water: A systematic review of fatal drowning in South Africa. S Afr Med J. 2017. [Internet]. [cited 2023 Jan 9]. Available from : https://www.ajol.info/index.php/samj/article/view/16635

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2023