การสอบสวนการบาดเจ็บและเสียชีวิต : กรณีอุบัติเหตุรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ชนรถจักรยายนต์ เสียชีวิต 3 ราย ที่สามแยกบ้านเหล่านางาม ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น วันที่ 4 พฤษภาคม 2562

ผู้แต่ง

  • นิทิกร สอนชา
  • อารดา หายักวงษ์
  • ศิริณา ศรัทธาพิสิฐ

คำสำคัญ:

รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ, จักรยานยนต์, อุบัติเหตุ, เสียชีวิต, ขอนแก่น

บทคัดย่อ

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 06.50 น. มีอุบัติเหตุรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อชนรถจักรยายนต์ที่สามแยกบ้านเหล่านางาม ตำบลบ้านหว้า อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น มีผู้เสียชีวิต 3 ราย คนขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ มาถึงจุดเกิดเหตุ เมื่อมาถึงสามแยกมีรถจักรยานยนต์ออกมาจากทางออกหมู่บ้าน มุ่งหน้าไปทางตัวเมือง มีคนนั่งมา 3 คน พ่อขับ แม่นั่งหลังและลูกนั่งกลาง พร้อมสัมภาระ เมื่อมาถึงแยกรถจักรยานยนต์ไม่ชะลอและขับรถตรงไปเพื่อข้ามแยกโดยไม่ทันสังเกตด้านซ้ายมือว่ามีรถบรรทุกพ่วงที่กำลังขับมา ส่วนรถบรรทุกพ่วงเห็นรถจักรยานยนต์ตัดหน้าในระยะประชิดจึงเหยียบเบรกแต่ไม่ทันชนเข้ากับรถจักรยานยนต์กลางลำ เป็นเหตุให้คนขับและคนซ้อนรถจักรยานยนต์เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจำนวน 3 ราย โดยสาเหตุการตายของทั้ง 3 ราย เกิดจากกะโหลกศีรษะแตก เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง และในรายที่เป็นเด็กมีสมองบวมช้ำร่วมด้วย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตครั้งนี้ ประกอบด้วย ด้านคนเกี่ยวข้องกับความประมาท การตัดสินใจผิดพลาดของคนขับรถจักรยานยนต์ คนขับรถบรรทุกพ่วง การขับขี่รถจักรยานยนต์และไม่สวมหมวกนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า สัญญาณไฟเตือนเสีย มีกิ่งไม้บดบังไฟเตือนฝั่งถนนที่ออกมาจากหมู่บ้าน ป้ายเตือนแยกไม่ชัดเจน จากการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้ ได้ส่งผลให้มีการดำเนินการแก้ไขสิ่งแวดล้อมมีแผนของบประมาณในการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรในปีงบประมาณต่อไป และการบังคับใช้กฎหมายที่จริงจังต่อไป

References

พญาดา ประพงศ์เสนา, อิศราณีย์ แสงเพชร, โสมสุดา ไกรสิงห์สม. อุบัติเหตุจราจรบนทางหลวงแผ่นดินปี 2549 (Traffic Accident on national Highways in 2006). [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มสถิติสารสนเทศ สำนักอำนวยความปลอดภัย กระทรวงคมนาคม; 2549 [เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก http://www.roadsafetythai.org/document/article_41.pdf

สฤษฏ์พงศ์ บริบูรณ์สุข, ขณิตฐา วินทะไชย. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย สำนักแผนความปลอดภัยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://www.otp.go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2561-07/25610726-analyze.pdf

ณัฐกานต์ ไวยเนตร. แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจรทางถนน (Road Traffic Injury Investigation). นนทบุรี: สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Haddon W Jr. The Haddon Matrix [Internet]. 1970 [cited 2017,November]. Available from: www.genderandhealth.ca/en/modules/trauma/trauma-injury-and-prevention-03.jsp

ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์, สุธาทิพย์ ภัทรกุลณิชย์, ศาสตรา รีพรม, ชลธิชา คำสอ, พานนท์ ศรีสุวรรณ, พรรษา สวนพุฒ. แนวทางการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

World Health Organization. Road Traffic Injury Prevention Training Manual. Geneva: WHO;2006.

อารดา หายักวงษ์. การดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน (D-RTI) อำเภอเมืองขอนแก่น. ขอนแก่น; 2561.

วิทยา ชาติบัญชาชัย, สมคิด เลิศสินอุดม, ธวัชชัย อิ่มพูล, อรุณ วรนุช, วีรศักดิ์ พงษ์สุธา, นิตยาภรณ์ สีหาบัวและคณะ. สรุปผลการดำเนินงานศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น ประจำปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kkh.go.th/ wp-content/uploads/2019/01/สรุปผลการดำเนินงานศูนย์อุบัติเหตุฯ ปี2560.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-01-2023

ฉบับ

บท

รายงานการสอบสวนทางระบาดวิทยาฉบับสมบูรณ์