การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- เนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอบเขตของวารสาร
- บทความไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น
- บทความมีองค์ประกอบ ดังนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อ-สกุลผู้เขียน(กรณีมีหลายคน ต้องแยกกำกับด้วยเครื่องหมายและจำนวนดอกจัน) ที่อยู่หรือสังกัดของผู้เขียนทุกคน บทคัดย่อ คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
- ไฟล์ต้นฉบับอยู่ในรูปแบบที่กำหนด คือ ไฟล์นามสกุล doc, docx อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยท์ ระยะบรรทัด single space มีเนื้อหารวมบทคัดย่อและเอกสารอ้างอิง เรื่องละไม่เกิน 15 หน้า
- การอ้างอิงใช้รูปแบบแวนคูเวอร์
นิพนธ์ต้นฉบับ
เป็นรายงานผลการศึกษา ค้นคว้าวิจัย ประกอบด้วยเนื้อหาต่อไปนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์พร้อมชื่อสังกัด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา วิจารณ์ กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง โดยมีความยาวเรื่องละไม่เกิน 15 หน้าพิมพ์
บทความพิเศษ
เป็นบทความแสดงข้อคิดเห็นหรือประสบการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจของนักวิชาการ บุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และประชาชนทั่วไป หรือเป็นบทความที่รวบรวมเนื้อหาและการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องดังกล่าว ลักษณะของบทความควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา ข้อคิดเห็นที่นำเสนอ เอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 15 หน้าพิมพ์
บทความฟื้นวิชา
เป็นบทความที่ทบทวนหรือรวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ มาวิเคราะห์ วิจารณ์ เปรียบเทียบ เพื่อให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนั้นยิ่งขึ้น โดยบทความควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์พร้อมชื่อสังกัด สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล เนื้อหา ที่ทบทวน บทวิจารณ์ และเอกสารอ้างอิง อาจมีความเห็นของผู้รวบรวมเพิ่มเติมด้วย โดยมีความยาวเรื่องละไม่เกิน 10 หน้าพิมพ์
รายงานผู้ป่วย
เป็นการรายงานผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดา หรือที่เป็นโรคหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยรายงานมาก่อนหรือพบไม่บ่อย และต้องมีหลักฐานชัดเจนอย่างครบถ้วน บางครั้งรวมบันทึกเวชกรรม (clinical note) ซึ่งเป็นบทความรายงานผู้ป่วยที่มีลักษณะเวชกรรม (case description) หรือการดำเนินโรค (clinical course) ที่ไม่ตรงแบบที่พบไม่บ่อย โครงสร้างบทรายงานผู้ป่วยประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ สถานที่ทำงาน บทคัดย่อและคำสำคัญ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ รายละเอียดที่พรรณนาผู้ป่วย วิจารณ์ หรือข้อสังกต และเอกสารอ้างอิง ความยาวของเรื่องไม่ควรเกิน 10 หน้าพิมพ์
ปกิณกะ
เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่าย หรือไม่เข้าข่ายบทความต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น บันทึกเวชกรรม เวชกรรม ทันยุค บทปริทัศน์ รายงานผลศึกษาวิจัยโดยสังเขป หรือรายงานเบื้องต้น
ประกาศเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
เงื่อนไขการพิมพ์เผยแพร่บทความ
- บทความทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษไฟล์ต้นฉบับตามรูปแบบของวารสาร (รูปแบบ doc, docx เท่านั้น) หรือ electronic file ในรูปแบบ word for windows
- บทความต้องไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอไปเพื่อพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่น ยกเว้น เป็นผลงานวิชาการที่นำเสนอในการประชุมทางวิชาการที่ไม่มี Proceedings และผู้เขียนไม่ได้ส่งบทความไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นในเวลาเดียวกัน โดยให้แนบคำรับรองงานต้นฉบับเพื่อยืนยันการขอตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยเพียงที่เดียว และให้ผู้เขียนทุกคนลงนามรับรองด้วย
- รูปแบบการเขียนบทความและการอ้างอิงเป็นไปตามที่วารสารกำหนด สามารถดูได้ที่ “คำแนะนำผู้เขียน”
- ต้องเขียนชื่อเรื่อง บทคัดย่อ ชื่อผู้เขียนพร้อมสังกัด เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และระบุชื่อผู้เขียนที่รับผิดชอบบทความ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และ e-mail address ด้วย
- กองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาการลงตีพิมพ์ในวารสารหลังจากผ่านการประเมินจากโดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินบทความ (peer reviews) และบรรณาธิการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- หากผลงานวิชาการใดได้รับการพิจารณาให้พิมพ์เผยแพร่ และมีการส่งให้แก้ไข เจ้าของผลงานต้องแก้ไขต้นฉบับให้เสร็จและส่งคืนฝ่ายจัดการวารสารภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้น จะถือว่าสละสิทธิ์การตีพิมพ์
- กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและพิมพ์เผยแพร่บทความทุกเรื่อง รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องของบทความบางส่วน ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviews) และ/หรือกองบรรณาธิการ
- กองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการลงตีพิมพ์ หากผู้เขียนไม่ดำเนินการแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพของบทความ ให้เสร็จสมบรูณ์ในระบบออนไลน์ภายใน 30 วัน ซึ่งผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด
- ผลงานวิจัยต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย จากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในมนุษย์)
นโยบายส่วนบุคคล
The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.