ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (KMIS)

ผู้แต่ง

  • ชนนิกานต์ จารุพฤฒิพงศ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2023.7

คำสำคัญ:

การยอมรับ, ระบบคลังความรู้, การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน, การรับรู้ประโยชน์, การแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ระบบคลังความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (KMIS) โดยวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาปัจจัยในเบื้องต้น และ (2) วิเคราะห์และสรุปผลการวิจัย ทั้งนี้จากการทบทวนวรรณกรรมสามารถสรุปกรอบแนวคิดการ วิจัย ในการวัดปัจจัย เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) ปัจจัยความสำเร็จของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย คุณภาพข้อมูล คุณภาพ ระบบ และคุณภาพการให้บริการ และ (2) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี นำไปสู่การรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน และ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน จนเกิดการยอมรับการใช้ จากนั้นนำไปพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ มีการสุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง ซึ่งวิธีการสุ่มตัวอย่างเก็บจากแบบสอบถามเป็นหลัก จำนวน 200 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ ปัจจัยเชิงสำรวจ (exploratory factor analysis: EFA) พบว่า ชุดตัวแปรที่ศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย ด้านคุณภาพข้อมูลและการเข้าถึงระบบ ด้านคุณภาพการบริการ ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้งาน และด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย multiple linear regression ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผล ต่อการยอมรับการใช้งานระบบคลังความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินโดยเรียงลำดับตามปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานจาก มากไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน และปัจจัยการให้บริการ ตามลำดับ

References

วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 31 ม.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.eg.mahidol.ac.th/qa/km/filekm01.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์- ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2555.

Davis FD, Bagozzi RP, Warshaw PR. User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science [Internet]. 1989 [cited2020 Feb 26];35(8):982-1003. Available from: https://doi.org/10.1287/mnsc.35.8.982

Fishbein M, Ajzen I. Belief, attitude, intentions and behaviour: an introduction to theory and research. Boston, MA: Addison-Wesley; 1975.

Delone WH, McLean ER. The DeLone and McLean model of information systems success: a ten-year update. J Manag Inf Syst [Internet]. 2003 [cited 2020 Mar 1]; 19(4):9-30. Available from: https://doi.org/10.1080/07421222.2003.11045748

ธนวรรณ สำนวนกลาง. การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงิน รูปแบบ M-Banking [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559. 128 หน้า.

พรศรี ลีลาพัฒนวงศ์, ทิพวรรณ์ ปิ่นวชิชย์กุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยี: กรณีศึกษายานยนต์ไฟฟ้าประเภทยานยนต์นั่นส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รยง. 1). วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2563];42(2):129-44. แหล่งข้อมูล: https://digital.lib.kmutt.ac.th/journal/loadfile.php?A_ID=915

วสุธิดา นุริตมนต์, ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจใช้บริการชำระเงินของผู้บริโภครุ่นใหม่ด้วยโปรแกรมประยุกต์คิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. วารสาวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2563];6(2):40-50. แหล่งข้อมูล: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/169393

วรรณิกา จิตตินรากร. การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากบริษัทขายตรงผ่านช่องทางออนไลน์ [การค้นคว้าปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2561, 53 หน้า.

ศศิจันทร์ ปัญจทวี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560. 88 หน้า.

ณัฐฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558. 140 หน้า.

ชาญชัย อรรคผาติ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติในการยอมรับในเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อประยุกต์ใช้ในการให้บริการระบบบัญชีออนไลน์สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในมุมมองของผู้ทำบัญชี [วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557. 76 หน้า.

ศรุตา สายบัวต่อ, กนกกาญจน์ เสน่ห์ นมะหุต. รูปแบบการยอมรับพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้บริการสมาร์ทแอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพของ Gen X. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2563];10(2):78-91. แหล่งข้อมูล: https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/04977.pdf

กรณษา แสนละเอียด, พีรภาว์ ทวีสุข, ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล. การยอมรับเทคโนโลยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มความตั้งใจในการใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์ [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2563];9(3):3- 15. แหล่งข้อมูล:https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/107023

ธนภรณ์ แสงโชติ, อัญณิฐา ดิษฐานนท์. การยอมรับเทคโนโลยี MyMo Mobile Banking บริบทธนาคารออมสิน. วารสาร วิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 18 ก.ค. 2563];15(3):47-64. แหล่งข้อมูล: http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/590

ศุภิสรา คุณรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีทางการเงินแอปพลิเคชัน Mobile Banking ของผู้ใช้บริการ ในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2561. 92หน้า.

ปรางค์ชิต แสงเสวตร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซด์อินทราเน็ต กฟผ. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560. 73 หน้า

อัครเดช ปิ่นสุข. การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้าที่มีผลต่อความพึงพอใจ (E-satisfaction) ในการจองตั๋วภาพยนต์ออนไลน์ผ่านระบบแอปลิเคชันของผู้ใช้บริการในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2557. 114 หน้า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29