รูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ สำหรับนักศึกษาอาชีวะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2023.3คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารจัดการ, ความปลอดภัยทางถนน, รถจักรยานยนต์, ระยองบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานและมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนของผู้ใช้รถจักรยานยนต์โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำนวน 370 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ยืนยันองค์ประกอบด้วยโมเดลความสอดคล้องด้วยโปรแกรมลิสเรล และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบและการพัฒนาตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย และ 44 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1 ด้านกลไกการทำงาน มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ (1) บุคลากร (2) ข้อมูลสารสนเทศ (3) แผนงานบูรณาการ (4) กำกับติดตามประเมินผลและองค์ประกอบหลักที่ 2 ด้านประเด็นความเสี่ยง มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ (1) พฤติกรรมเสี่ยง (2) กายภาพความเสี่ยง (3) ยานพาหนะ ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน พบว่า (1) องค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนมีค่าสถิติพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ กลไกการทำงาน และประเด็นความเสี่ยง ในส่วนขององค์ประกอบย่อยของการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนน พบว่า ค่าสถิติพื้นฐานโดยรวม อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ คือ ข้อมูลสารสนเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผล กายภาพความเสี่ยง แผนงานบูรณาการ บุคลากร ยานพาหนะ และพฤติกรรมเสี่ยง ส่วนการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า เมื่อผู้วิจัยได้ปรับโมเดลตามค่าเสนอแนะจากดัชนีปรับโมเดล ผลการวิเคราะห์โมเดลที่ปรับแล้ว ได้ค่าไค-สแควร์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 0.76 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 0.47 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนมีค่า 1.00 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ มีค่า <0.01 ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ และผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนได้ยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการความปลอดภัยทางถนนมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริง
References
อมรชัย ลีลาขจรจิตร, ภาณุพงศ์ ภาณุดุลกิตติ. การจัดการข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย; 2558.
ประชาชาติธุรกิจ. ปี’64 เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนน 1.3 หมื่นราย “กลุ่มวัยทำงาน” ตายสูงสุด [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.prachachat.net/finance/news-869874
World Health Organization Office in Thailand. Legal and institutional road safety assessment in Thailand. Nonthaburi: World Health Organization office in Thailand; 2016.
World Health Organization. World state road safety report 2018 [Internet]. 2018 [cited 2022 Jan 12]. Available from: http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2018/GSRRS2018_Summary_Thai.pdf
ศูนย์ข้อมูล thairsc. สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสม [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.thairsc.com/TH/stataccidentonfestival
ไทยแลนด์พลัส. ระยองเมืองนำร่องความปลอดภัยทางถนนของคนรุ่นใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.thailandplus.tv/archives/443189
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ลดอุบัติเหตุทางถนน จ. ระยอง [อินเทอร์-เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/Content/55646-สร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ%20ลดอุบัติเหตุทางถนน%20จ.ระยอง.html
Krejcie RV, Morgan DW. Educational and psychological measurement. New York: Minnesota University; 1970.
Cronbach LJ. Essential of psychological testing. 5thed. New York: Harper Collins; 1990.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แนวทางการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนภายใต้การสนับสนุนโครงการนวัตกรรมและพัฒนาจังหวัดเชิงประเด็น และเชิงพื้นที่ (best practice สอจร.). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2562.
สมใจ อ่อนละเอียด. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานศึกษาของรัฐอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกัน และลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 4 ง (ลงวันที่ 14 มกราคม 2554).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.