ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • สมัคร ใจแสน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรเดช สำราญจิตต์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

เจตคติ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน, การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเจตคติและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรครูผู้สอนการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน และการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (ระดับ 3) จากหลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จำนวน 330 คน เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบประเมินเจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน และ (2) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) มี ค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.739 และ 0.975 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ Pearson’s product moment correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนของเจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ค่าเฉลี่ย 4.86 (SD=0.25) และมีระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.15 (SD=0.59) และ เจตคติในการกู้ชีพขั้นพื้นฐานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของครูผู้สอนหลักสูตรการปฐมพยาบาล ฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (r=0.731, p-value 0.01) ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้นำข้อมูลและผลการวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลใน การวางแผนพัฒนาคุณภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน ที่จัดโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติต่อไป

References

World Health Organization. Thailand’s Report Situation of Severe Injuries Year 2005-2010 Data from Injury Surveillance (IS), Thailand Supported [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 15]. Available from: https://www.who.int/docs/defaultsource/thailand/road-safety/thailand-status-against-12-global-road-safetyperformancetargets.pdf?sfvrsn=92a24b06_4

Kim HK, Ahn Y. Mortality trends of cardiovascular disease in Korea; big challenges in ischemic heart disease. Korean Circ J 2015;45(3):192-3.

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).

Dudas K, Lappas G, Stewart S, Rosengren A. Trends in out-of-hospital deaths due to coronary heart disease in Sweden (1991 to 2006). Circulation 2011;123(1):46-52.

เทียมจันทร์ ฉัตรชัยกนันท์, ภาณุ อดกลั้น. ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัด. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2562; 2(2): 3-10.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนกลยุทธ์สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561- 2580). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2561.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. หลักสูตรการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.) และอาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) พ.ศ. 2563. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, ชัจคเณค์ แพรขาว. ผลของโปรแกรมการสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28(2):118-32.

จิรานุวัฒน์ คำปลิว. ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติและพฤติกรรมการปฏิบัติเกี่ยวกับนันทนาการของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561. 96 หน้า.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company; 1997

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, ณัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

สังคม ศุภรัตนกุล. ความสัมพันธ์ของการรับรู้ ทัศนคติกับพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากยาเสพติดในพื้นที่การค้า และการระบาด จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการเสพติด 2560; 5(1): 25-40

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28