การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน จังหวัดตรัง
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2023.5คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน จังหวัดตรัง โดยใช้หลักการการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนของผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัคร แกนนำ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 45 คน คัดเลือกพื้นที่ตำบลน้ำผุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินสถานการณ์การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ที่ทำการศึกษาและการประชุมกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากนั้นนำมาสร้างรูปแบบฯ นำรูปแบบฯ ที่สร้างขึ้นปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และทำการปรับปรุงรูปแบบฯ ตามข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของรูปแบบฯ ประกอบด้วย (1) ด้านประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (2) ด้านหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล และ (3) ด้านศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ระยะเวลาในการทดลองใช้รูปแบบ 3 เดือน (กุมภาพันธ์ - เมษายน 2566) การประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับบริการการแพทย์ฉุกเฉินของแกนนำและอาสาสมัครในชุมชน จำนวน 12 หมู่บ้าน รวม 123 คน ก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของแกนนำและอาสาสมัครต่อบริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สัดส่วนของการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินและสัดส่วนการให้บริการโดยหน่วยปฏิบัติการแพทย์ได้ภายใน 10 นาทีเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน การใช้ช่องทางการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้พื้นที่ห่างไกลและไม่มีสัญญาณโทรศัพท์สามารถเข้าถึงบริการได้ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในชุมชน
References
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เรื่องระบบการแพทย์ฉุกเฉินช่วงก่อนถึงโรงพยาบาล. การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 28/2559; วันที่ 6 มิถุนายน 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค.2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/usergroup_disaster/8-6.pdf
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: อาร์ตควอลิไฟท์; 2557 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/255708231346263515_KMUxPhUPAFVODtE9.pdf.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. รายงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดตรัง: เอกสารการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดตรัง รอบที่ 2 ประจำปี งบประมาณ 2565. ตรัง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง; 2565.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล:.https://ws.niems.go.th/items_front/index.aspx
แสงอาทิตย์ วิชัยยา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลฝาง. เชียงรายเวชสาร [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ค. 2566];10(1): 93-102. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/181752/128783
ธงชัย อามาตยบัณฑิต, นิพนธ์ มานะสถิตพงศ์, อินทนิล เชื้อบุญชัย, เสาวนีย์ โสบุญ, บดินทร์ บุณขันธ์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 66];11(1):37-46. แหล่งข้อมูล:https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4678/hsri_journal_v11n1_p37.pdf?sequence=1&isAllowed=y
สุรภา ขุนทองแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี [อินเทอร์เน็ต].- 2562 [สืบค้นเมื่อ 25 เม.ย. 66];2(1):30-44. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/186050/130740
พิมพ์ณดา อภิบาลศรี, บุญสม เกษะประดิษฐ์. วิเคราะห์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชากรในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 26 เม.ย.66];19(ฉบับพิเศษ):291-9. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/156128/113326
นงคราญ ใจเพียร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินและฉุกเฉินเร่งด่วนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 26 เม.ย. 66]; 22(1):52-66. แหล่งข้อมูล: https://he01.tcithaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/246894/168641
มุมตาส มีระมาน, ยุภาวดี คงดำ, กัลยา ตันสกุล. ความพร้อมการให้บริการและการรับรู้การปฏิบัติการตามมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 27 เม.ย. 66];3(2):76-88. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/pck/article/view/242079
พัชรพร นิลนวล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, นันทวรรณ ทิพยเนตร. การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยปฏิบัติการองค์การบริหารส่วนตำบลใส้จ่อ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค.66];6(3): 97-108. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ajcph/article/view/247455/168085
วันเพ็ญ โพธิยอด. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน จังหวัดลำพูน. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 3 พ.ค.66];2(2):114-25. แหล่งข้อมูล: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/448/516
สโรชา ครุธจับนาค. การศึกษาและพัฒนาแชตบอทเพื่อการสื่อสารบริการการแพทย์ฉุกเฉินบริเวณพื้นที่เมืองพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564. 74 หน้า.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1988.
วิชญ์ สิริโรจน์พร, อรวรรณ เชาว์สวัสดิ์, ธนพรรณ วงษา, รุ่งนภา ไชยอาม, ศราวุธ แปงหลวง, กันตพงษ์ แก่นกล้า, และคณะ. โปรแกรมเสริมสร้างความรู้และทักษะอาสาสมัครฉุกเฉินดูแลชุมชน. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2563.
อุรา สุวรรณรักษ์, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 3.1 พ.ศ.2562-2565 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.