กระบวนการจัดการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเพื่อนำไปสู่ระบบส่งต่อผู้ป่ วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
กระบวนการจัดการ, ระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน, ผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยานในประเทศไทยตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน และเพื่อศึกษากระบวนการจัดการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติตั้งแต่แรกเริ่มจนกระทั่งมีระบบการ ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน สภาพการณ์การดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยานในประเทศไทยตั้งแต่อดีต แบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคแรกเป็นยุคการก่อเกิด ช่วงปี พ.ศ. 2552-2556 ยุคที่สองเป็นยุคการก่อตัว ช่วง พ.ศ. 2557-2561 และยุคที่สามเป็นยุคการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ช่วง พ.ศ. 2562-มีนาคม 2566 แต่ละยุคมีกิจกรรมดำเนินงานและเหตุการณ์ที่ สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการวางระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศ (Thai Sky Doctor) ประเทศไทย ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โดยใช้กรอบระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ (6 building blocks of a health system) ขององค์การอนามัยโลก พบว่าการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยาน Thai Sky Doctor ประเทศไทย ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน ตามกรอบ ระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ มีการพัฒนามาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน อย่างไรก็ตามยังคงจำเป็นต้องมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องเพื่อนำ ไปสู่เป้าหมายผลลัพธ์การจัดระบบบริการที่ได้คุณภาพและมาตรฐานตามทิศทางที่หน่วยงานมุ่งหวังเป็นสำคัญต่อไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ริเริ่มโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยานโดยใช้เฮลิคอปเตอร์การแพทย์ฉุกเฉินเพื่อ ช่วยชีวิตประชาชนขึ้น จาก “นภาแพทย์ สู่ Thai Sky Doctor” ด้วยความร่วมมือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งเน้นให้ ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคนได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้ มาตรฐานและมีประสิทธิผลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดการเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินและลดความพิการจากภาวะฉุกเฉิน
References
กมลทิพย์ แซ่เล้า, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ปี 2553-2555. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2553.
สัญชัย ชาสมบัติ, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556-2559. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2555.
ธัณณ์จิรา ธนาศิริธัชนันท์, นฤมล พาพพิล่า, สินีนุช ชัยสิทธิ์, ชุติมณฑน์ ยาใจ, สุพัตรา กาญจนลออ, ศิวพล อนันตสิทธิ์, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2559.
อุรา สุวรรณรักษ์, บรรณาธิการ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562-2565. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2562.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที 4 พ.ศ. 2566-2570 (แผนปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน) [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี; 2565 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EB-ook/416665_20221031093559.pdf
อุรา สุวรรณรักษ์, สุนิสา สุวรรณรักษ์, พรธิดา แย้มพยนต์, รังสรรค์ คูหากาญจน์, โสรัจจะ ชูแสง, อนุรัตน์ สมตน, บรรณาธิการ. ช่องว่างการแพทย์ฉุกเฉินไทย: รายงานสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปี 2558. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตรการพิมพ์; 2559.
อีจัน EJAN. กว่าจะเป็น Thai Sky Doctor ในวันนี้ [วิดีโอ]. 22 มิ.ย. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.youtube.com/watch?v=taE-q7XpSwY
พรรณทิพา จิตอุ่น, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการจ่ายเงินกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุน อุดหนุนหรือชดเชยการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตรการพิมพ์; 2563..
อัจฉริยะ แพงมา, ณญาดา เผือกขำ, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตร การพิมพ์; 2560.
MGR Online [อินเทอร์เน็ต]. ส่งต่อผู้ป่วยทางอากาศ 97% รอดตายจากฉุกเฉิน มั่นใจไม่นานมาตรฐานเท่าญี่ปุ่น. 23 ก.ค. 2558 [สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล:https://mgronline.com/qol/detail/9580000083569
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2019. สพฉ. จัดอบรมหลักสูตรการลำเลียงผู้ป่วยทางเฮลิคอปเตอร์ขั้นพื้นฐาน (Basic Helicopter Emergency Medical Services Course: Basic HEMS); 29 พ.ย.2564 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/News/Detail/8270?group=5
MGR online [อินเทอร์เน็ต]. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินอบรมการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศในพื้นที่อีอีซี. 28 ม.ค. 2563 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล:https://mgronline.com/local/detail/9630000009240
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร; 2545.
มาลินี ขจรบริรักษ์, นันทวัน อินทชาติ, นปภา ภทรกมลพงษ์. การพัฒนาธุรกิจการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศในประเทศไทย. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2566];9(1):58-74. แหล่งข้อมูล: https://archives.mfu.ac.th/database/files/original/78a33d13094818bfbb057239dde1596d.pdf
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 1669 Facebook [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน. Live: งานเสวนา 15 ปี มุ่งสู่อนาคตมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินไทย. 7 มี.ค. 2566 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 66]. แหล่งข้อมูล: https://web.facebook.com/niem1669/?locale=th_TH&_rdc=1&_rdr
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.