เปรียบเทียบอัตราการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่มีการกำเริบในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับยา Dexamethasone กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา Dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • อัครชัย เผือกวัฒนะ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

คำสำคัญ:

การกำเริบเฉียบพลันของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ยาเดกซาเมทาโซน, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโอกาสการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ มีอาการกำเริบเฉียบพลันที่ได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบย้อนหลังจากบันทึกเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์และบันทึกการออกรับผู้ป่วยภายนอกโรงพยาบาลในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลันอายุมากกว่า 18 ปี ที่ถูกนำส่งโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ช่วงวันที 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เกณฑ์การคัดออกได้แก่ ผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้น  ภายนอกโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวและได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มี ท่อหลอดลมคอ ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากระบบทางเดินหายใจร่วม ได้แก่ ปอดอักเสบ ภาวะหัวใจล้มเหลว ลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในกระแสเลือด ผลการศึกษาผู้ป่ วยที่เข้าเกณฑ์วิจัย 319 ราย ได้รับยาdexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล 69 ราย (ร้อยละ 21.63) ไม่ได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาล 250 ราย (ร้อยละ 78.37) กลุ่มผู้ป่วยทีได้รับการรักษาด้วยยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลมีอัตราการนอนโรงพยาบาล เป็น 1.13 เท่า (p=0.513)  จำนวนวันนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันเฉลี่ย 1.52 วัน (p=0.478) และอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง คือ 2.25 เท่า (p=0.196) สรุปได้ว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาก่อนมาถึงโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้น เรื้อรังที่มีอาการกำเริบและได้รับยา dexamethasone ก่อนมาถึงโรงพยาบาลไม่ส่งผลต่ออัตราการนอนโรงพยาบาล จำนวนวัน นอนโรงพยาบาลเฉลี่ยและอัตราการกลับมารักษาซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง

References

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, 2560. กรุงเทพมหานคร: บียอนเอ็นเทอร์ไพรส์; 2560.

Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease. Global strategy for prevention, diagnosis and management of chronic obstructive pulmonary disease (2020 Report). Deer Park , IL: Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease; 2020.

อานนท์ วิทยานุกูลลักษณ์. ข้อมูลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เขตสุขภาพที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200816159755596654.pdf

Sneath E, Bunting D, Hazell W, Tippett V, Yang IA. Pre-hospital and emergency department pathways of care for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Journal of Thoracic Disease 2019; 11(S17):S2221-9.

Hoogendoorn M, Hoogenveen RT, Rutten-van MP, Vestbo J, Feenstra TL. Case fatality of COPD exacerbations: A meta-analysis and statistical modelling approach. European Respiratory Journal. 2010;37(3):508–15.

Krishnan AM, Ramanathan R, Sama S, Manek G, Datta D, Alunilkummannil J. Impact of 30-day readmission on outcomes and resource utilization among patients with acute exacerbation of COPD. Chest 2019;156(4): 153-61.

Guerrero M, Crisafulli E, Liapikou A, Huerta A, Gabarrús A, Chetta A, et al. Readmission for acute exacerbation within 30 days of discharge is associated with a subsequent progressive increase in mortality risk in COPD patients: A long-term observational study. PLOS ONE 2016;11(3):1-15.

Ringbaek TJ, Terkelsen J, Lange P. Outcomes of acute exacerbations in COPD in relation to pre-hospital oxygen therapy. European Clinical Respiratory Journal 2015; 2(1):1-6.

Hodroge S, Glenn M, Breyre A, Lee B, Aldridge N, Sporer K, et al. Adult patients with respiratory distress: Current evidence-based recommendations for Prehospital Care. Western Journal of Emergency Medicine. 2020;21(4):849-57.

García-Sanz MT, Pol-Balado C, Abellás C, Cánive-Gómez JC, Antón-Sanmartin D, González-Barcala FJ. Factors associated with hospital admission in patients reaching the Emergency Department with COPD exacerbation. Multidisciplinary Respiratory Medicine. 2012;7(1):6.

Piquet J, Chavaillon J-M, David P, Martin F, Blanchon F, Roche N. High-risk patients following hospitalisation for an acute exacerbation of COPD. European Respiratory Journal. 2013;42(4):946–55.

Menaik R. Appropriate selection of corticosteroids in treating asthma and COPD.JEMS journal of emergency medical services [Internet]. 2017 [cited 2022 Oct 2]. Available from: https://www.jems.com/patient-care/appropriate-selection-of-corticosteroids-in-treating-asthma-and-copd

Miyabo S, Nakamura T, Kuwazima S, Kishida S. A comparison of the bioavailability and potency of dexa-methasone phosphate and sulphate in man. Eur J Clin Pharmacol. 1981;20(4):277-82.

Walters JA, Tan DJ, White CJ, Gibson PG, Wood-Baker R, Walters EH. Systemic corticosteroids for acute exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database Syst Rev 2014;1:(9):1-4

Peters GA, Cash RE, Goldberg SA, Ordoobadi AJ, Camargo CA Jr. Out-of-Hospital Presentation and Management of Asthma and Chronic Obstructive Pulmonary Disease Exacerbations in the United States: A Nationwide Retrospective Cohort Study. Ann Emerg Med 2023; 81(6):679-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28