การพัฒนาระบบการประเมินการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการแข่งขันกีฬาที่มีภาวะมวลชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การประเมินการแพทย์ฉุกเฉิน, การแข่งขันกีฬา, กีฬาที่มีภาวะมวลชนบทคัดย่อ
ในการแข่งขันกีฬาแต่ละครั้งย่อมเกิดการบาดเจ็บ/เจ็บป่วยตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีระบบการแพทย์ฉุกเฉินในงานแข่งขัน อย่างไรก็ตาม การแข่งขันกีฬาที่มีภาวะมวลชน ควรมีการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีความจำเพาะ เนื่องจากเกิดการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือเป็นไปได้ด้วยความยากลำบากหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงอาศัยการวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้า หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของรายการเกณฑ์มาตรฐานที่ควรมีการเตรียมการ ได้แก่ ระบบฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวัง และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สำหรับการเตรียมการ การป้องกัน การตอบสนอง และการฟื้นฟู ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาโครงสร้างข้อมูลระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชนในประเทศไทย (2) ออกแบบระบบการประเมินการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชน และ (3) สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อนำระบบการประเมินไปใช้ประโยชน์ โดยคัดเลือกการแข่งขันวิ่งมาราธอนซึ่งเป็นกีฬาที่มีลักษณะภาวะมวลชน และคัดเลือกพื้นที่ศึกษาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมาราธอน และบุรีรัมย์มาราธอน ขั้นตอนในการสร้างระบบการประเมินมี 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การออกแบบโครงสร้างข้อมูล และแบบประเมิน (2) พัฒนาเว็บไซต์การประเมินผล และฐานข้อมูล (3) การทดสอบแบบประเมิน โดยอาศัยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาประกอบด้วยโครงสร้างข้อมูลระบบการแพทย์ฉุกเฉินในการแข่งขันกีฬาที่มีมวลชนในประเทศไทยของแบบประเมินการแข่งขันมาราธอนผ่านเว็บไซต์ 5 ชุด ได้แก่ (1) แบบประเมินความเสี่ยงในการจัดงานแข่งขันมาราธอน (2) แบบบันทึกการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน (3) แบบประเมินทรัพยากรที่ใช้ในการจัดงานแข่งขันกีฬาวิ่งมาราธอน (4) แบบประเมินปัญหาสุขภาพก่อนการแข่งขันวิ่งมาราธอน และ (5) แบบบันทึกการบาดเจ็บ และเจ็บป่วย ในส่วนของเว็บไซต์ของการประเมิน ประกอบด้วย หน้าแรกของเว็บไซต์ การยินยอมการให้ข้อมูล การสมัครสมาชิก บันทึกงานแข่งขัน และการประเมินผล สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีข้อเสนอว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติควรสนับสนุนให้นำระบบการประเมินนี้ไปทดลองใช้จริง เพื่อปรับปรุงให้สามารถตอบสนองกับความต้องการที่อาจหลากหลาย อีกทั้งควรร่วมมือกับสถานพยาบาลต่างๆ ในการพัฒนาการเชื่อมข้อมูลระหว่างสนามแข่งขันและโรงพยาบาล และควรร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาแนวทางการจัดการแข่งขันที่เฉพาะเจาะจงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
References
พัฒนาวิไล อินใหม, จเร วิชาไทย, จิราลักษณ์ นนทารักษ์, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์, อาณัติ วรรณศรี. รูปแบบการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการแข่งขันกีฬาระดับชาติในประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2562.
Khan AA, Sabbagh AY, Ranse J, Molloy MS, Ciottone GR. Mass gathering medicine in soccer leagues: a review and creation of the SALEM tool. Int J Environ Res Public Health 2021;18(19):9973.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ํชาติ. รายงานผลการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2557.
Institute for Population and Social Research, Mahidol University. ThaiHealth2020. Nakhon Pathom: Institute for Population and Social Research; 2020.
Patrunning. ปฏิทินงานวิ่งทั่วไทย ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [สืบค้นเมื่อ 24 ธ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://patrunning.com/ปฏิทินวิ่งรายเดือน/
Siebert DM, Drezner JA. Sudden cardiac arrest on the field of play: turning tragedy into a survivable event. Neth Heart J 2018;26(3):115–9.
Chan K, An WK, Chau LS, Wai LPJ, Leung N, Shing MN, et al. Cardiac arrest and non-fatal myocardial injury among marathon runners: 15 years’ experience of the Hong Kong standard chartered marathon. J Am Coll Cardiol 2017;69(11_Supplement):324.
Tan CM, Tan IW, Kok WL, Lee MC, Lee VJ. Medical planning for mass-participation running events: a 3-year review of a half-marathon in Singapore. BMC Public Health 2014;14:1109.
Kardos P, Lahuta P, Hudakova M. Risk assessment using the FMEA method in the organization of running events. Transp Res Procedia 2021;55:1538–46.
Memish ZA, Steffen R, White P, Dar O, Azhar EI, Sharma A, et al. Mass gatherings medicine: public health issues arising from mass gathering religious and sporting events. Lancet 2019;393(10185):2073–84.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.