การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ ในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุรภา ขุนทองแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
  • ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาการศึกษา, การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน, หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน, เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการฟื้นคืนชีพ และใช้ เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) โรงเรียนในประเทศไทยและต่างประเทศ และศึกษาปัญหาและความคิดเห็นในการจัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ รวมทั้งศึกษารูปแบบการ จัดการศึกษาหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายในโรงเรียนจังหวัดราชบุรี ประชากรในหลักสูตรการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผู้บริหารและครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาและพละศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา 124 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแนวทางการจัดการศึกษาของการประชุมกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้ฝึกปฏิบัติการฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) ในโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านผู้เรียน ครูผู้สอน การเรียนการสอน หลักสูตร และการบริหาร ส่วนปัญหาและความคิดเห็นของการนำหลักสูตรสู่การเรียนการสอนวิชากลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษาใน ภาคเรียนปกติ พบว่า ปัญหาครูผู้สอนต้องผ่านการอบรมเนื้อหาหลักสูตรก่อน และจำนวนครูยังมีไม่เพียงพอ ขาดอุปกรณ์ใน การจัดการเรียนการสอน ขาดงบประมาณการจัดซื้ออุปกรณ์ คะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในการจัดการศึกษาโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก mean=4.25 SD=0.89 คะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในด้านผู้เรียนอยู่ในระดับมากสุดคือ mean=4.25 SD=0.71 สำหรับด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านครูผู้สอน ด้านการเรียนการสอน และด้านการบริหาร พบคะแนนค่าเฉลี่ยความคิดเห็นในระดับ มาก คือ mean=4.17 SD=0.86, mean=4.11 SD=0.84, mean=4.02 SD=0.91, mean=3.46 SD=1.14 ตามลำดับ ข้อสรุป คือแนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรการให้ความรู้การฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ และใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ สู่วิชากลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษาพบมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้ คือ การเตรียมคนคือครูผู้สอน หลักสูตร อุปกรณ์ การเรียนการสอน และการบริหาร/งบประมาณ

References

American Heart Association. Cardiovascular diseases (CVDs) [Internet]. 2020 [cited 2023 Jun 5]. Available from: https://cpr.heart.org/en/resources/cpr-factsand-stats

ศศิธร ตันติเอกรัตน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อความรู้ การรับรู้ ความสามารถของตนเองและทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี 2564;4(2):111-26.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี: AED) สำหรับประชาชน. คณะกรรมการมาตรฐานการช่วยชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย; 2561.

โสภณ กฤษณะรังสรรค์. คู่มือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (เออีดี) สำหรับประชาชน. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตรการพิมพ์; 2558.

พัชรินทร์ ชำศิริพงษ์. เบื้องต้น-CPR ในหลักสูตรมัธยมศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://mgronline.com/detail/9630000086529

American Heart Association. Guidelines and statements search. [Internet]. 2020b [cited 2023 Jun 5]. accessible from: https://professional.heart.org/en/guidelines-andstatements/-and-statements search.

เกรียงศักดิ์ ยุทโท, นิโรจน์ สินณรงค์, ธรรญชนก เพชรานนท์, กฤตวิทย์ อัจฉริยะพานิช. การพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2564. 207 หน้า.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค; 2560.

อนันต์ สมุทวณิช. การศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ 293/2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ; 2561.

Salciccioli JD, Marshall DC, Sykes M, Wood AD, Joppa SA , Sinha M, et al. Basic life support education in secondary schools: a cross-sectional survey in London, UK. BMJ Open [Internet]. 2017 [cited 2023 Mar 5];7(1):e011436. Available from: https://bmjopen.bmj.com/content/7/1/e011436

Fernandes JMG, dos Santos Leite AL, de Sá Duarte Auto B, de Lima JEG, Rivera IR, Mendonça MA. Teaching Basic Life Support to Students of Public and Private High Schools. Arq Bras Cardiol 2014;102(6):593–601.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. ยอดการบริการโรงเรียนในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://rbpho.moph.go.th/

ประจักษ์ จิตเงินมะดัน. โครงการการออกแบบและพัฒนาชุดฝึกทักษะการปฏิบัตินวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ CPR) ในระบบเสมือนจริง. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

Zenani NE. Effectiveness of school-based CPR training among adolescents to enhance knowledge and skills in CPR: A systematic review Curations. 2022;45(1) [Internet]. 2022 [cited 2023 Mar 10]. accessible from: https://curationis.org.za/index.php/curationis

Tanaka H, Nakao A, Mizumoto H, Kinoshi T, Nakayama Y, Takahashi H, et al. CPR education in Japan--past, present and future. Nihon Rinsho 2011;69(4):658-69.

Plant N, Taylor K. How best to teach CPR to school children: a systematic review. Resuscitation.2013;84(4):415-21

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28