ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกของผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนมารักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน, การเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก, ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อบทคัดย่อ
การส่งต่อผู้ป่วยเป็นบริการเครือข่ายไร้รอยต่อ (seamless health service network) เพื่อใช้ทรัพยากรในเครือข่ายที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นการลดการสูญเสียการทำงานของอวัยวะสำคัญ และลดอัตราการเสียชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของผู้ป่วยและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรก ที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่ง ฝั่งตะวันตกของจังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรงพยาบาลแม่สอด ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 592 ราย มีผู้เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 26 ราย (4.4%) รอดชีวิต 566 ราย (95.6%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่ ระดับ GCS <8 (OR=3.08; 95%CI=1.000-9.510, p=0.050) ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต (OR=5.62; 95%CI=1.837-17.212, p=0.002) และระดับ DTX <80mg% (OR=5.07; 95%CI=1.226-21.034, p=0.025) ดังนั้นผู้ป่วยที่มีภาวะต่างๆ เหล่านี้ควรจะได้รับการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2552.
Hsia RY, Thind A, Zakariah A, Hicks ER, Mock C. Prehospital and emergency care: updates from the disease control priorities, version 3. World J Surg 2015;39(9):2161-7.
Alabdali A, Trivedy CR, Aljerian N, Kimani PK, Lilford R. Incidence and predictors of adverse events and outcomes for adult critically ill patients transferred by paramedics to a tertiary care medical facility. J Health Spec 2017;5(4):206-11.
Srithong K, Sindhu S, Wanitkun N, Viwatwongkasem C. Incidence and risk factors of clinical deterioration during inter-facility transfer of critically ill patients; a cohort study. Arch Acad Emerg Med 2020;8(1):e65.
Droogh JM, Smit M, Absalom AR, Ligtenberg JJ, Zijlstra JG. Transferring the critically ill patient: are we there yet? Crit Care. 2015;19(1):62.
เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์, พรทิพา ตันติบัณฑิต. ลักษณะของผู้ป่วยที่เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงแรกในการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชน: กรณีวิเคราะห์ข้อมูลระดับจังหวัด. วารสารกรมการแพทย์. 2564; 46(3):89-95.
Pintatham K, Plongniras W. Factors associated with 24 Hours mortality of traumatic patients in Chiang Rai Province, Thailand. Journal of Emergency Medical Services of Thailand 2022;2(1):66-76.
รัดเกล้า วงศ์ชัยสุริยะ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, ยุทธนา โค้วจิริยะพันธุ์, พรธีรา พรหมยวง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(1):14-22.
Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.
Strauch U, Bergmans DC, Winkens B, Roekaerts PM. Short-term outcomes and mortality after interhospital intensive care transportation: an observational prospective cohort study of 368 consecutive transports with a mobile intensive care unit. BMJ Open 2015;5(4):e006801.
Niegelberg E, Pesce K, Cox L, Thode H, Singer AJ. 210: The impact of online medical direction on ambulance transport of patients initially refusing medical assistance. Annals of Emergency Medicine 2010;56(3):S69.
Atramont A, Lindecker-Cournil V, Rudant J, Tajahmady A, Drewniak N, Fouard A, et al. Association of age with short-term and long-term mortality among patients dis charged from intensive care units in France. JAMA Netw Open 2019;2(5):e193215.
Motiejunaite J, Deniau B, Blet A, Gayat E, Mebazaa A. Inotropes and vasopressors are associated with increased short-term mortality but not long-term survival in critically ill patients. Anaesth Crit Care Pain Med. 2022;41(1):101012.
Björk M, Melin EO, Frisk T, Thunander M. Admission glucose level was associated with increased short-term mortality and length-of-stay irrespective of diagnosis, treating medical specialty or concomitant laboratory values. Eur J Intern Med. 2020;75:71-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.