ปัจจัยทำนายผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในการออกปฏิบัติการรับผู้ป่วยฉุกเฉินโดยหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา รุ่งเรือง โรงพยาบาลมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้ป่วยอาการทรุดลง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและปัจจัยทำนายที่ทำให้ผู้ป่วยที่อาการทรุดลงในการออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุโดยระดับการปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนาย (predictive correlational design) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่นำส่งโดยหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูง โรงพยาบาลมุกดาหาร เก็บรวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลัง จากเวชระเบียนและแบบบันทึกการปฏิบัติการขั้นสูง ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2565 – 31 สิงหาคม 2566 จำนวน 295 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอาการ ตามเกณฑ์ของ Sudden Deterioration หาค่าความเชื่อมั่น = 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควล์และการถดถอย logistic regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 63.05 เพศหญิง ร้อยละ 36.95 อายุมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (r=13.713, p<0.001) ปัจจัยที่สามารถทำนายอาการทรุดลงของผู้ป่วยที่มีค่าวิกฤตได้ คือ ระดับโรคประจำตัว Nagelkerke R2=0.031 (OR=2.17, 95%CI=9.50778 - 4.4420696) และระดับความรู้สึกตัว Nagelkerke R2=0.331 (OR=2.17, 95%CI=9.50778 - 4.4420696) ผลของการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นการพิจารณาสั่งการ การประเมินการช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ เพื่อป้องกันการเกิดอาการทรุดลงของผู้ป่วยภาวะวิกฤตก่อนถึงโรงพยาบาลได้ กลุ่มโรคเป็นข้อมูลในการจัดเตรียมรายการยาในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ทรุดลงขณะนำส่ง และการทำมาตรฐานแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ออกรับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ

References

ฮิชาม อาแว, อามานี แดมะยุ. การดูแลผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุและระหว่างการนำส่งโดยพนักงานฉุกเฉินการแพทย์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์- 2564;13(3):459-72.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉินระดับโลกและระดับ

ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2021/EBook/414441_20211229135756.pdf

กรรณิการ์ กาศสมบูรณ์, ผดุงวิทย์ ยศทวี, สิริวรรณ ธัญญผล. ปัจจัยที่มีผลต่ออาการทรุดลงทันทีทันใดของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารสุข 2563;31(3):164-75.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน แผนปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 พ.ศ 2566-2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 4 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook?group=79

Mehmood A, Rowther AA, Kobusingye O, Hyder AA. Assessment of pre-hospital emergency medical servicesin low-income settings using a health systems approach. International Journal of Emergency Medicine 2018; 11(1):53.

Page J, Vazquez KM, Sbat M, Yalcin ZD. Analysis of emergency medical systems across the world [Internet]. 2013 [cited 2023 Feb 4]. Available from: https://digitalcommons.wpi.edu/iqp-all/2304

พัชชา เติมกิจวาณิชย์, สรวิชญ์ วัชรกิจไพศาล, เจษฎากร เจนพานิชพงศ์, มะลิวัลย์ ผลทับทิม, ไชยพร ยุกเซ็น, บรรณาธิการ. การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร:ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.

Cochran WG. Sampling techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

ภูมินทร์ ดวงสุริยะ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, ปรางทิพย์ ฉายพุทธ, อรพรรณ โตสิงห์. ปัจจัยทำนายความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของผู้ป่วยติดเชื้อที่รับการรักษาในห้องฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล 2564;36(3):134-50.

Lin MW, Wu CY, Pan CL, Tian Z, Wen JH, Wen JC. Saving the on scene time for out of hospital cardiac arrest patients: the registered nurses’ role and performance in emergency medical service teams [Internet]. [cited 2023 Feb 4]. Available from: https://downloads.hindawi.com/journals/bmri/2017/5326962.pdf?

Budd HR, Almond LM, Porter K. A survey of trauma alert criteria and handover practice in England and Wales. Emerg Med J 2007;24(4):302-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28