ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ

ผู้แต่ง

  • วิชญา จันจะนะ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก
  • แสงจันทร์ เชียงทา งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก

คำสำคัญ:

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน, เครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ นำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ มีประสิทธิภาพ ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและได้รับการดูแลที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน รวดเร็ว วิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนผู้รับบริการ ได้แก่ (1) กลุ่ม ประชาชนผู้รับบริการ ผู้ป่วยฉุกเฉินในระดับสีชมพูหรือสีแดง จำนวน 389 คน (2) อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR) จำนวน 17 คน และ (3) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (ALS) ที่ปฏิบัติงาน ณ ศูนย์สั่งการของโรงพยาบาล จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประเมินคุณภาพ และแบบสัมภาษณ์เหตุผลของการ เข้ารับบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมีนาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2565 รวม เวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วยข้อมูลทางสถิติ ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Chi-square test วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในการดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ เครือข่ายระดับอำเภอ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ (EMR) ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการประเมินผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ โดยเฉพาะการประเมินระดับความรู้สึกตัวและระบบไหลเวียนโลหิตซึ่งถูกต้องเพียงร้อยละ 98.42 และ 93.16 ตามลำดับ ส่งผลให้สามารถประเมินระดับความรุนแรงและการร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 71.05 ศูนย์สั่งการเครือข่ายอำเภอให้รหัสความรุนแรง IDC (incident dispatch code) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ศูนย์สั่งการยังขาดประสบการณ์ใน การคัดแยกและการจ่ายงาน ส่งผลให้สั่งการไม่เหมาะสมกับชุดปฏิบัติการ เกิดความคลาดเคลื่อนในการออกปฏิบัติการ และ จากการตอบแบบสอบถามผู้ใช้บริการพบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่รู้จักหมายเลข 1669 คิดเป็นร้อยละ 82.41 แต่คิดว่ามาด้วยรถส่วนตัวสะดวกกว่า ไม่อยากเสียเวลารอรถพยาบาลฉุกเฉินที่อาจจะมาช้า ผู้ใช้บริการบางส่วนที่ยังไม่รู้จักหมายเลข 1669 เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่สามารถเข้าถึงการประชาสัมพันธ์หมายเลข 1669 ทำให้คิดว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ และไม่มั่นใจศักยภาพของทีมที่เข้าไปช่วยเหลือ ส่งผลให้ผู้รับบริการในระดับวิกฤติฉุกเฉินเข้ารับบริการผ่านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ (1) ด้านชุดปฏิบัติการในพื้นที่: บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทุกคนควรได้รับการอบรมและประเมินทักษะในการประเมินผู้ป่วยและดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) ด้านศูนย์สั่งการ: บุคลากรผู้สั่งการควรได้รับการอบรมการคัดแยกและการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินทุกคน และ (3) ด้านผู้รับบริการ: ควรมีการประชาสัมพันธ์หมายเลข 1669 ขั้นตอนในการรับบริการ และข้อดีของการเข้ารับบริการ 1669 อย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมทุกพื้นที่ในอำเภอ

References

World Health Organization. Prehospital trauma care systems. Geneva: World Health Organization; 2005.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถิติการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน. ระบบคลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.Niems.go.th/1/?redirect=True&Lang=TH

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562 – 2564 (ฉบับปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ 2560-2564). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. 2562-2564 (ปรับปรุงจากแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล:https://www.niems.go.th/th/Upload/File/256112221455115037_GWJdMn5ejp3gVAdc.pdf

สุรภา ขุนทองแก้ว.การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2562;2(1):30-44.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วิชรดิลก. ความรู้ ทัศนคติและเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(4):668-80.

ณัฐกฤษฎ์ ธรรมกวินวงศ์, สุเทพ สินกิตติยานนท์, นฤมล ปาเฉย, อรพรรณ มันตะรักษ์, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์.

ประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐ เขตสุขภาพที่ 3. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.

Yamane T. Statistics, an introductory analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row; 1967.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28