การพัฒนาเครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage ของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

ผู้แต่ง

  • ศกลวรรณ อารีบุหงา งานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

คำสำคัญ:

การคัดแยก, ประสิทธิผล, ความพึงพอใจ, อุบัติเหตุฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการพัฒนาเครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH ED Triage ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเครื่องมือการคัดแยก ประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วย ความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย การคัดแยกระดับความเร่งด่วนผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาล การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพตามเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วย MOPH ED Triage กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 11 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH  ED Triage ที่ผู้ศึกษาพัฒนาและปรับใช้ โดยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566  ก่อนและหลังการใช้เครื่องมือ กลุ่มละ 750 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพึงพอใจ ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินและเกณฑ์คัดแยกผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและร้อยละ เปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติด้วยสถิติ Paired Samples T- Test, Chi-Square Test  ผลการศึกษาพบว่า ความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ก่อนการใช้เครื่องมือ Easy YCPH ED Triage ค่าเฉลี่ย 20.09  หลังใช้ค่าเฉลี่ย 61.81 การคัดแยกไม่ถูกต้อง ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 48.09 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 6.36 คัดแยกต่ำกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็น (under triage) ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 35.27 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 4.54 สูงกว่าสภาพความรุนแรงที่เป็น (over triage) ก่อนใช้ค่าเฉลี่ย 12.82 หลังใช้ค่าเฉลี่ย 1.63 ภายหลังการใช้เครื่องมือการคัดแยกผู้ป่วย Easy YCPH  ED Triage มีประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วยถูกต้องมากกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 มีความพึงพอใจต่อการใช้เครื่องมือคัดแยก Easy YCPH  ED Triage มากที่สุด จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการพัฒนาเครื่องมือคัดแยก Easy YCPH  ED Triage ส่งผลต่อประสิทธิผลการคัดแยกผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพให้มีความถูกต้องมากขึ้น ผู้ป่วยปลอดภัย

References

เอกสารอ้างอิง

สภาการพยาบาล. ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง หลักการคัดแยกระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2566]. แหล่งข้อมูล :

https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_00344.PDF

ชาติชาย คล้ายสุบรรณ. คู่มือแนวปฏิบัติการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับ ศักยภาพสถานพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566]. แหล่งข้อมูล: http://49.231.15.21/crhfileload/cDownload.php/?DL_ID=645&DL_NAME=TEAF256211050831184234.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่กพฉ.กำหนด พ.ศ. 2556. (พิมพ์ครั้งที 2). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.

ทัศนีย์ เอี่ยมสมบุญ, วิระพล แก้วจันทร์แปง, ศิริอร สินธุ. การคัดแยกระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วยฉุกเฉิน. สาระหลักการพยาบาลฉุกเฉิน (Principle and practice in emergency nursing). กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์; 2565.

มยุรี มานะงาน. ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2563;34(3):52-65.

วิพุธ เล้าสุขศรี และคณะ. การทำนายโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บที่มารับการรักษาในห้องฉุกเฉินด้วยระบบการคัดแยก ผู้ป่วยของประเทศไทยและ Trauma and Injury Severity Score (TRISS). เชียงใหม่เวชสาร. 2564; 60(4):563-73.

สุมาลี จักรไพศาล, จินตนันท สิทธิประชาราษฎร, ชฎาภรณ เปรมปรามอมร และณัฐนันท มาลา. การพัฒนาโปรแกรมการสรางความรูและความสามารถในการคัดกรองระดับความรุนแรงผูปวยฉุกเฉินโดยใชทฤษฎีการเรียนรูแบบผูใหญของพยาบาลวิชาชีพ งานผูปวยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล. 2560; 44(2):117-140.

อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูรและคณะ. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมทางแพทย์. 2561;43(2):146-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29