การพัฒนาระบบบริการรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น ไปยังโรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พัชราวดี พิรุณสุนทร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ศิริมา นามประเสริฐ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบบส่งต่อ, บาดเจ็บฉุกเฉิน, โรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัตกิารนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบบริการรับส่งต่อผู้ป่ วยที่ได้รับบาดเจ็บฉุกเฉินของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสขุ โซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ สังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภายหลังทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน และพัฒนางานระบบบริการรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่สอดคล้องกับบริบทจังหวัดขอนแก่นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน คือ (1) ศึกษาสถานการณ์และการจัดการระบบบริการรับส่งต่อ (2) วิเคราะห์เอกสารถอดบทเรียนการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาขาการรับส่งต่อทั้งหมด 5 ครั้ง แต่ละครั้งจะปรับปรุงพัฒนาการให้บริการส่งต่อตามผลประเมินในแต่ละวงรอบ และ (3) สมั ภาษณ์เชิงลึกผู้ประสานงานศูนย์รับส่งต่อของแต่ละโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนางานระบบรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินนอกจากการบริหารจัดการเชื่อมโยงตามโครงสร้างประสานงานรับส่งต่อแล้ว ต้องมีการพัฒนากระบวนงาน 4 ขั้นตอน คือ (1) แนวปฏิบัติประสานงานรับส่งต่อ (2) การเรียกเก็บค่าบริการทางการแพทย์ (3) การสื่อสารแนวทางปฏิบัติประสานงานรับส่งต่อภายในองค์กร และ (4) เพิ่มองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรทั้งเครือข่ายบริการ ผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า ภายหลังทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน ภาพรวมการส่งต่อของโรงพยาบาลโซนเหนือไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็น 3.6 เท่าของโรงพยาบาลขอนแก่น สัดส่วนการส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินของโรงพยาบาลโซนเหนือ ไปยังโรงพยาบาลขอนแก่น ลดลงร้อยละ 9 ค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งการส่งต่อของโรงพยาบาลโซนเหนือไปยังโรงพยาบาล
ขอนแก่น 2691.00 (SD=538.29) เพิ่มขึ้นจากก่อนทำบันทึกข้อตกลงร่วมมือกัน 1815.75 (SD=861.02) ข้อมูลมีการกระจายตัวลดลง สรุปได้ว่า การพัฒนาการจัดกระบวนงานประสานรับส่งต่อผู้บาดเจ็บฉุกเฉินที่เกิดจากความร่วมมืออย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานสาธารณสุขต่างสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกของเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดขอนแก่นทั้งระบบ

References

พงศธร พอกเพิ่มดี. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสขุ ) พ.ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสขุ

;29(1):173-86.

คู่มือแนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย. นนทบุรี: กองบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. คู่มือการปฏิบัติด้านระบบส่งต่อผู้ป่ วย. กรุงเทพมหานคร: สำนักการแพทย์; 2565.

กมลทิพย์ แซ่เล้า, ธานินทร์ โลเกศกระวี, สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์, บรรณาธิการ. ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่าง

สถานพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.

สำนักงานสาธารณสขุ จังหวัดขอนแก่น. ข้อมูลทั่วไปจังหวัดขอนแก่น. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงาน

กรณีปกติ กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2567; 19-23 กุมภาพันธ์ 2567; โรงพยาบาลขอนแก่น.

ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสขุ จังหวัดขอนแก่น; 2567.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. การวิจัยเชิงระบบเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม; 2563.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสขุ . Team พัฒนา IS on Cloud@MOPH. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสขุ; 2566.

เกื้อกูล เพ็ชรสันทัด. รายงานการประชุมแนวทางความร่วมมือการพัฒนาระบบรับและส่งต่อผู้ป่ วย ระหว่างโรงพยาบาล

ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์. เอกสารประกอบการประชุม แนวทาง

ความร่วมมือการพัฒนาระบบรับและส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสขุ จังหวัดขอนแก่นกับ

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ครั้งที่ 1/2564: 8 กุมภาพันธ์ 2564. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสขุ จังหวัดขอนแก่น; 2564.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. คู่มือการใช้มาตรฐาน HA. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2562.

ทิพย์วิภา สังข์อินทร์, ภาณุ อดกลั้น, นุชนารถ ศรีนาค. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินแบบครบวงจร โรงพยาบาล

นครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2563;8(2):104–94.

พรทิพย์ เนตรแสงศรี. ประสิทธิผลของการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลนาแห้ว จังหวัดเลย. อุบลราชธานี: สำนักงานเขตสขุ ภาพที่ 10; 2565.

สุรเดช ดวงทิพย์, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก. รายงานการศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉินและการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้บาดเจ็บรุนแรง (Major Trauma). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29