รูปแบบการจัดการความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของรถพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ธีระ ศิริสมุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • นนทภัทร พูลศิริ บริษัท เอวา เฮลท์ กรุ๊ป จำกัด

คำสำคัญ:

รถปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินและรถพยาบาล, ความปลอดภัยในรถพยาบาล, ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการรถพยาบาลด้วยการนำเทคโนโลยีระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) กับรถพยาบาล และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจพฤติกรรมการขับขี่รถพยาบาลปลอดภัย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่พนักงานขับรถ และเป็นการพัฒนาระบบการจัดการเดินรถพยาบาลสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพด้านระยะเวลาตอบสนองต่อการปฏิบัติการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสังเคราะห์และบูรณาการองค์ความรู้ ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงพัฒนา ระยะที่ 3 นำร่องต้นแบบ “เทคโนโลยี GPS และระบบบริหารจัดการเดินรถพยาบาล” ในจังหวัดนำร่อง ได้แก่ ลำพูนและอุบลราชธานี และระยะที่ 4 การติดตาม ประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลการประเมินผล ทั้งเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามและข้อมูลในระบบรายงานระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2565 และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิตเชิงพรรณนา และสถิติ independent paired t-test สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การออกแบบระบบการจัดการความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของรถพยาบาล หรือระบบ Safety Information System มีความสามารถ 12 ประเด็นที่สามารถเป็นข้อมูลเฝ้าระวังและเป็นข้อมูลประกอบการสั่งการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการเดินรถพยาบาลและเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาได้ ออกแบบเชื่อมกันระหว่างศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ แอปพลิเคชันบนมือถือของพนักงานขับรถ และการเฝ้าระวังข้อมูลจากส่วนกลาง มีการติดตั้งเครื่องและระบบ GPS บนรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินรวม 40 คัน และระบบแสดงผลที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดลำพูนและอุบลราชธานี มีการฝึกอบรมหลักสูตรการขับรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินและรถพยาบาล การพัฒนามาตรการ/กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและการหลีกทางให้รถพยาบาล หลังการดำเนินโครงการพบว่า พนักงานขับรถยังมีความเข้าใจผิดบางประเด็นเกี่ยวกับ GPS มีความเข้าใจผิดต่อการขับรถปลอดภัย รวมทั้งมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยหลายประการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุ การออกแบบระบบค่อนข้างมีความสมบูรณ์ สามารถแสดงผลสนับสนุนการปฏิบัติการ แจ้งเตือนพฤติกรรมการขับรถเสี่ยงต่อความปลอดภัย และมีแผนเชื่อมระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนั้นจึงควรผลักดันให้ อบจ. อบต. และเทศบาลที่มีศักยภาพ นำรูปแบบบรรจุเป็นแผนปฏิบัติการในการพัฒนามาตรฐานคุณภาพระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งเสริมให้มีมาตรการความปลอดภัย มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกทางให้รถพยาบาล มีระบบข้อมูลการเฝ้าระวัง และการรายงานอุบัติเหตุรถพยาบาล

 

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบสารสนเทศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://report.niems.go.th/niemsdwh/index.html

77ข่าวเด็ด [อินเทอร์เน็ต]. สจล. คิดค้น 2 นวัตกรรมใหม่ ยกระดับการให้บริการรถพยาบาลฉุกเฉิน-รถกู้ภัย. 2561 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.77kaoded.com/news/chatmongkhon/112784

วิทยา ชาติบัญชาชัย, สุรชัย ศิลาวรรณ, นวนันทน์ อินทรักษ์, กมลทิพย์ แซ่เล้า, วิภาดา วิจักขณาลัญน์ และคณะ, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน (Prevention). นนทบุรี: อัลติเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2557.

National Highway Traffic Safety Administration and the Office of Emergency Medical Services. The National Highway Traffic Safety Administration and Ground Ambulance Crashes [Internet]. [Cited 2019 Feb 5]. Available from: http://www.ems.gov/pdf/GroundAmbulanceCrashesPresentation.pdf

อนุชา เศรษฐเสถียร, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, สุชาติ ได้รูป, ศิริชัย นิ่มมา. สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564]; 9(3): 279-293. แหล่งข้อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/4341/hsri_journal_v9n3_p279.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน, กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาล (ที่ สธ. 0235/ว 196 วันที่ 16 มีนาคม 2559) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560]. แหล่งข้อมูล :http://pher.moph.go.th/wordpress/wp-content/uploads/2017/05/2016-07-13-16691723.pdf

ศิเบญญา พุฒศิรอาภากร, สุพัฒสร พึ่มกุล และ ณรงค์ชัย วงค์วาร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การประเมินผลการติดตั้งระบบ GPS Tracking ในรถพยาบาล. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน (Data Warehouse) [อินเทอร์เน็ต]. 2563

ธีระ ศิริสมุด, ศิริชัย นิ่มมา. ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในรถพยาบาล (Ambulance Safety). สารเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉิน [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2560]; 2(6):10-12. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Upload/migrate/File/255910041102318209_8pR3itJXBc46EprV.pdf

สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ : แนวทางการดำเนนงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ. วารสารสุขศึกษา. 2550; 30(105):1-15.

United Nations. Transforming our world: The 2030 Agenda for Sustainable Development [Internet]. 2015 [cited 2019 Feb 10]. Available from https://sdgs.un.org/sites/default/files/publications/21252030%20Agenda%20for%20Sustainable%20Development%20web.pdf

สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์, ศิริชัย นิ่มมา. คู่่มืือหลัักสููตรการขัับรถบริิการการแพทย์์ฉุุกเฉิินและรถพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: ห้้างหุ้้นส่่วนจำกัด สิิทธิิโชค พริ้้นติ้้ง; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2022/EBook/414708_20220201151045.pdf

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เลขาธิการ สพฉ. ชูหลัก "NIEMS" เดินหน้ายกระดับการแพทย์ฉุกเฉินให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล. จดหมายข่าวสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. 2560; ฉบับเดือนมีนาคม 2560.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รวมกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งและหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2564. สมุทรปราการ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์-การพิมพ์; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29