การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการวิจัยและนวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการวิจัย, การประเมินผล, วิจัยและนวัตกรรม, การแพทย์ฉุกเฉินบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการวิจัยและนวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และติดตาม ประเมินประสิทธิภาพ ผลผลิตและผลลัพธ์แต่ละโครงการจากการบริหารจัดการตามรูปแบบดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ Kenmis & McTaggar อีกทั้งมีการติดตามประเมินผลรูปแบบการดำเนินการบริหารจัดการวิจัยฯ ตามแนวคิด CIPP Model วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้กาวิเคราะห์เนื้อหาในข้อมูลเชิงคุณภาพ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 จากการทบทวนวรณกรรมและร่วมเรียนรู้ในหน่วยงานบริหารวิจัย รวมทั้งในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัดกรรม ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ออกแบบและพัฒนาแนวทางบริหารจัดการวิจัยและพวัตกรรมด้านการแพทย์ฉุกเฉิน มุ่งให้นำผลวิจัยผลักดันสู่การใช้ประโยชน์เชิงนโยบายและการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่ โดยพิจารณาปัจจัยที่จะนำสู่การบริหารจัดการที่ดี ผ่านแนวทาง กลไก วิธีการและเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการ 8 ชิ้น ภายใด้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่ครอบคลม ทั่วถึงและเท่าเทียมอย่างมีคุณภาพ ด้วยกลไถการขับเคลื่อนขององค์กรอัจฉริยะ ปีงบประมาณ 2566 ซึ่งการติดตามประเมินผล พบว่า การบริหารจัดการในภาพรวม นักวิจัยส่วนใหญ่เข้าใจแนวทางการบริหารจัดการ เข้าใจนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารงานวิจัยค่อนข้างดี แต่พบปัญหา อุปสรรค ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อปิดช่องว่างระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราการเบิกดำใช้จ่ายงานวิจัย รวมทั้งการสนับสนุนทางเทคโนโลยียังมีไม่เพียงพอและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน การบริหารจัดการวิจัยช่วงกลางทาง ยังพบปัญหาเกี่ยวข้องกับระบบสนับสนับสนุนการดำเนินงานด้านสารบรรณและงานเอกสาร การรายงานความก้าวหน้ายังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ระบบงานสารบรรณ การเบิกจ่ายเงิน การทำสัญญาต่างๆ ค่อนข้างมีปัญหา การเสนอขอขออนุมัติดำเนินงานมีความล่าช้า สำหรับการบริหารจัดการช่วงปลายทาง ยังพบปัญหาที่เกี่ยวกับความชัดเจนของการนำผลวิจัยไปเผยแพร่ ผลักดันใช้ประโยชน์ สำหรับการติดตามประเมินผลผลิตของการบริหารจัดการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้กับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ด้วย อีกทั้งสามารถดำเนินการจัดการเชิงนโยบายประสานกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เปิดแผดผมงามวิพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์โต้ดียิ่งขึ้นจะต้องพัฒนาและดำเนินการการบริหารจัดการวิจัยให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง เน้นกิจกรรมสำคัญในแต่ละช่วงระยะเวลาโดยเฉพาะการสร้างการมีส่วนร่วม และการหาแนวทาง เครื่องมือ วิธีการการสนับสนุนหรือเอื้อให้นักวิจัยดำเนินงานวิจัยได้คล่องตัว อีกทั้งสร้างการติดตามประสิทธิภาพ ผลผลิต ผลลัพธ์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ผลงานวิชาการ: รายงานฉบับสมบูรณ์และ EMS Brief เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ปี 2555 – 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 13 ก.พ. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/SubWebsite/?id=1678
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เปิดผลงานเด่น สู่การยกระดับการแพทย์ฉุกเฉินไทย. อดีต ปัจจุบัน สู่อนาคตงานวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน หน้า 28-33, 2562.
เกรียงศักดิ์ พราวศรี. การจัดการระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา.กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์. 2544.
เสมอ ถาน้อย. การบริหารงานวิจัยสไตล์ มน. [อินเตอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 14 ต.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล:
https://www.gotoknow.org/posts/136263
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. การประเมินโครงการแนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
สมพร อิศวิลานนท์. การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ: แนวคิดและกรณีศึกษา. สถาบันคลังสมองของชาติ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 07 ก.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.knit.or.th/web/wp-content/uploads/2018/06/Managementofresearchintooutcomesandimpacts.pdf
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). คู่มือการจัดทำคำของบประมาณและการบริหารจัดการงบปประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐานตามพันธกิจของหน่วยรับงบประมาณ (fundamental fund; FF) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. เอกสารอัดสำเนา. 2566.
ปัทมาวดี โพชนุกูล, ประภาพร ขอไพบูลย์, ชนาธิป ผาริโน. การวิจัยเชิงยุทธศาสตร์. หนังสือชุดการบริหารจัดการงานวิจัย สกว.เล่มที่ 1 นวัตกรรมการบริหารจัดการงานวิจัย.บริษัทชิโน พับลิชชิ่ง แอนท์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.กรุงเทพ.: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2561.
จันทรวิภา ธนะโสภณ. นวัตกรรมงานวิจัยแบบมุ่งเป้า. หนังสือชุดการบริหารจัดการงานวิจัย สกว.เล่มที่ 1 นวัตกรรมการบริหารจัดการงานวิจัย.บริษัทชิโน พับลิชชิ่ง แอนท์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.กรงเทพ.: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2561.
มนตรี สังข์ทอง, ประภาส กลับนวล, ศศินันท์ ศาสตร์สาระ, อามีนะห์ ไชยธารี, พรพิมล เชียรพิมาย, สมพร วงศ์ศักดิ์. การประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (ระยะที่ 3). วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2562; 14(2):81-101.
ฉัตรนภา พรหมมา. รูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับชุมชนท้องถิ่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2561; 13(2):1-12.
อริศาพัชร จักรบุตร. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ. 2565; 9(1):1-17.
นที เชี่ยวสุวรรณ, นันทรัตน์ เจริญกุล. แนวทางการบริหารงานวิจัยตามนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. OJED. 2016;11(2):107-21.
ดวงเดือน ภูตยานันท์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์, ไพโรจน์ สถิรยากร. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสาริชาการพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ. 2554;21(267-376).
อริศาพัชร จักรบุตร. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานวิจัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีษะเกษ. 2565; 9(1):1-17.
วิภาพร นิธิปรีชานนท์, ประเสริฐ อินทร์รักษ์. แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2554;2(1):56-69.
วนิดา มงคลสินธุ์, จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, โยธิน ศรีโสภา. การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารงานวิจัยการบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารพัฒนาและวิจัยหลักสูตร. 2561; 8(2):101-15.
ชนะวิทย์ อนุสุเรนทร์, สุวรรณี แสงมหาชัย. ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทย. Humanities & Social Sciences. 2562;36(2):126-62.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. การบริหารจัดการโครงการวิจัยให้สัมฤทธิ์ผล. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 2563; 17(1):179-89.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์และกรอบอัตราค่าใช้จ่ายโครงการวิจัย กรมควบคุมโรค. [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3197120230210082426.pdf
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่ายในการศึกษาวิจัย.[อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 ก.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://finance.anamai.moph.go.th/th/research-guide/download?id=104227&mid=30798&mkey=m_document&lang=th&did=31772
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.