การพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
จัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน , เข้าถึงบริการ , ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ กรณีศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยรูปแบบเป็นการวิจัยและการพัฒนา มี 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ ปัญหาข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกรอบระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่พึงประสงค์ขององค์การอนามัยโลก และระยะที่ 2 ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ ผลการศึกษาสถานการณ์ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2565 พบว่า มีการตายจากโรคกลุ่มเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลในอัตราที่สูง เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 28.10 และคุณภาพที่ได้รับปฏิบัติการฉุกเฉินภายใน 8 นาทีลดลง สาเหตุสำคัญจากปัจจัย ดังนี้ (1) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (2) สมรรถนะการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน อยู่ในระดับ "มีการดำเนินงานและเริ่มเห็นผลผลิต" และ (3) มีหน่วยปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมการให้บริการร้อยละ 23 ของตำบลทั้งหมด ซึ่งสะท้อนถึงช่องว่างในการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ส่วนผลการพัฒนารูปแบบการจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการ มีข้อเสนอปรับปรุงกลไกการอภิบาลระบบการแพทย์ฉุกเฉินมี 2 ระยะ ดังนี้ (1) ระยะยาว มีข้อเสนอให้คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กำหนดให้ "การแพทย์ฉุกเฉินเป็นภารกิจภาคบังคับ" สถ. ปรับปรุงกลไกให้รองรับดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกระดับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สนับสนุนด้านวิชาการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพิ่มหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูงในแต่ละโซนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (2) ระยะเปลี่ยนผ่าน ข้อเสนอดังนี้ ระดับชาติ: สถ. กำหนดเป็นตัวชี้วัดในการผลักดัน สพฉ. ผลิตและพัฒนาบุคลากร ระดับจังหวัด: องค์การบริหารส่วนจังหวัดสนับสนุนให้ รพ.สต. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐานและระดับสูง หน่วยปฏิบัติการสังกัด สธ. เป็นแม่ข่ายในแต่ละอำเภอ และ ระดับท้องถิ่น: อปท. ขนาดเล็กที่เร่งรัดการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ (3) จำนวนและการกระจายหน่วยปฏิบัติการแต่ละโชนให้คำนึงถึงถึงระยะเวลา ระยะทางและความหนาแน่นของประชากร แต่ละโซนควรมีหน่วยปฏิบัติการระดับสูง 1 หน่วย และหน่วยปฏิบัติการระดับพื้นฐาน 2 หน่วย (4) การออกแบบจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ดังนี้ (4.1) การปฏิบัติการอำนวยการให้ปรับปรุงขั้นตอนการรับแจ้งเหตุและแนวทางการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ในการช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (4.2) กำหนดพื้นที่ให้บริการและกระจายหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับสูงและระดับพื้นฐานในแต่ละโซนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (4.3) จัดทำแนวปฏิบัติการปฏิบัติการอำนวยการและปฏิบัติการแพทย์ที่สอดคล้องบริบทและทันสมัยอยู่เสมอ (4.4.4) การจัดระบบปฏิบัติการฉุกเฉินดิจิทัลที่เชื่อมโยงไร้รอยต่อ (4.5) ทบทวนกระบวนการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (5) การออกแบบการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ข้อเสนอ ดังนี้ (1) วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาการตายจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลที่มีอัตราอุบัติการณ์สูง และ (2) การออกแบบการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
References
สุรจิต สุนทรธรรม. การจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2552; 3(3) . 346-62.
World health organization. Health systems: emergency-care systems. Sixtieth World Health Assembly WHA60.22 Agenda item 12.14. 2007; 23 May. 1-3.
World health organization. Strengthening emergency and essential surgical care and anesthesia as a component of universal health coverage. Sixty-Eighth World Health Assembly WHA 68.15. Agenda item 17.1. 2015; 26 May. 1-6.
World health organization. Emergency care systems for universal health coverage: ensuring timely care for the acutely ill and injured. Seventy-Second World Health Assembly WHA72.16 Agenda item 12.9. 2019; 28 May. 1-5.
World health organization. Emergency care systems for universal health coverage: ensuring timely care for the acutely ill and injured. Seventy-Fourth World Health Assembly WHA74.39 Provisional agenda item 33. 2021; 28 April. 1-3.
สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. ศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทย พ.ศ. 2560-2562. มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์จำกัด; 2564.
อุรา สุวรรณรักษ์, สุนันทา ทองพัฒน์, สินีนุช ชัยสิทธิ์, สุนัชฌา ไชยกาล, สุพัตรา กาญจนลออ, ทักษิณา วงศ์ใหญ่. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2566-2570. นนทบุรี: อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด; 2566.
พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 44 ก, หน้า 1-17.
วราภรณ์ บุญเชียง, เสาวลักษณ์ เศรษฐีกุล, กรรณิการ์ อินต๊ะวงศ์, สุรภี ทานเคหาสน์, บริบูรณ์ เชนธนากิจ, บวร วิทยชำนาญกุล, พีระศักดิ เลิศตระการนนท์. วิเคราะห์ช่องว่างและสถานการณ์ของระบบบริการการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จํากัด; 2563.
พิมพ์ณดา อภิบาลศรี, บุญสม เกษะประดิษฐ์. ศึกษาวิเคราะห์ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของประชากรในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19 ฉบับพิเศษ พฤษภาคม - สิงหาคม : 291-9.
สุรภา ขุนทองแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า 2562; 2(1) : 30-44.
เกรียงศักดิ์ ยุทโท. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่ภูเขา. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562; 6(3) : 48-56.
เกรียงศักดิ์ ยุทโท. ศึกษาพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
พัชรากาญจน์ คงทวีพันธ์. ศึกษาการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเบื้องต้น. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
ปริทัศน์ ชัยเจริญวรรณ, ปิตุภูมิ ชัยเจริญวรรณ. การพัฒนาระบบแผนที่ออนไลน์ตำแหน่งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
นันทวรรณ ทิพยเนตร. การพัฒนาแนวทางการให้คำแนะนำของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการต่ออัตราการช่วยฟื้นคืนชีพในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล. นนทบุรี: 2565.
ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์. การกระจายของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินกับการเข้าถึงบริการและประสิทธิภาพการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ในประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2565; 2(2) : 159-168.
อุรา สุวรรณรักษ์. การเปรียบเทียบผลลัพธ์การปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงกับชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐาน วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564; 1(1) : 42-52.
ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, ธีระ ศิริสมุด, สุพัตรา ลีเลิศ, ณฐนภ ศรัทธาธรรม, เยาววัลยา อ่อนโพธิ์ทอง, ภัควัฒน์ ภูริพงศ์ธนวัต. การศึกษาวิจัยแนวทางการจัดตั้งชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง ในจังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: ม.ป.ท.; 2565.
วรเชษฐ เต๋ชะรัก. ศึกษาการพัฒนาระบบบริการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขแบบไร้รอยต่อจังหวัดเชียงใหม่ในยุค 4.0. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2565.
วรวุฒิ โฆวัชรกุล, หทัยกาญจน์ การกะสัง. ศึกษาการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
วราภรณ์ บุญเชียง, เสาวลักษณ์ เศรษฐีกุล, สุรภี ทานเคหาสน์, สุณิสา เสนาหวาน. ศึกษาการพัฒนาระบบข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉินอย่างไร้รอยต่อและ คุณภาพบริการการแพทย์ฉุกเฉินด้านหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ และอุบัติเหตุจราจร จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, วิชยา เห็นแก้ว, สุนทรี สุรัตน์, มัลลิกา มาตระกูล, อนงค์ สุนทรานนท์, เสกสรร มีธรรม, และคณะ. ศึกษาการพัฒนาระบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
พีระศักดิ์ เลิศตระการนนท์, พนาไพร คุ้มสะดวก, สุภาวดี พุฒิหน่อย, สุจิตรพร เลอศิลปะ. ศึกษาการพัฒนาระบบและศักยภาพของอาสาฉุกเฉินชุมชนในเขตเมือง เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินในผู้สูงอายุ. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.