การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของชุดปฏิบัติการแพทย์ เครือข่ายกู้ชีพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิไลกูล ครองยุทธ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • กนกวรรณ เจริญศิริ โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • จุลินทร ศรีโพนทัน โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • ปรมาภรณ์ คลังพระศรี โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • อนันตเดช วงศรียา โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • รณิดา ไชยคำภา โรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน, อุบัติภัยหมู่, การบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่

บทคัดย่อ

การศึกษานี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของชุดปฏิบัติการแพทย์เครือข่ายกู้ชีพอำเภอ
เมือง จังหวัดมหาสารคาม โดยการใช้วงจร PAOR ตามกรอบแนวคิดของ Kemmis and McTaggart กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติ
การการแพทย์ฉุกเฉิน เขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 100 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม 2564 ถึง
ธันวาคม 2565 การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนพัฒนา ระยะที่ 2 การปฏิบัติการ
ตามแผน และระยะที่ 3 การประเมินผลการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือเก็บรวบรม
ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบทึกข้อมูลการออกปฏิบัติการ แบบบันทึกการปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัย
แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบรายงานสรุปผลกรณีเหตุอุบัติภัยหมู่ เครื่องมือเก็บรวบรมข้อมูลเชิงปริมาณ
ได้แก่ แบบประเมินความรู้ ประเมินสมรรถนะ และประเมินความพึงพอใจการบริหารจัดการสาธารณภัยหรืออุบัติภัยหมู่ วิเคราะห์
ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้ สถิติ paired-sample t-test ผลการศึกษาพบว่า การ
บริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ของเครือข่ายกู้ชีพออำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ไม่เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัย
ด้วยหลัก CSCATTT และได้พัฒนารูปแบบ MSK Disaster Management โดยการเพิ่มการให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจ
ระหว่างผู้ปฏิบัติการและภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ ต่อมาได้ทดลองใช้และปรับปรุงใหม่โดยการเพิ่มการ
ทำความเข้าใจบริบท และการรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพ ผลการทดลองใช้ MSKH Disaster Management พบว่า สามารถ
บริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านการจัดการสาธารณภัย หลังการเข้าร่วมวิจัย (24.36)
สูงกว่าก่อนเข้าร่วมการวิจัย (18.40) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การฝึกสมรรถนะปฏิบัติผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ
80 ทุกทีม ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการอุบัติภัยหมู่ โดยใช้รูปแบบ MSKH Mass Casualty Management Model
อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

References

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566]. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. แหล่งข้อมูล:

https://backofficeminisite.disaster.go.th/apiv1/apps/minisite_ndwc/194/content/2744/download?filename=694d7355190adf16029c39d3cfd83e1b.pdf

World Health Organization. Guide: Mass casualty preparedness and response in emergency units: Manual and Guideline [Internet]. 2022 [cited 2023 Jan 26]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/guide-mass-casualty-preparedness-and-response-emergency-units

Lincoln EW, Freeman CL, Strecker-McGraw MK. EMS Incident Command. StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2023 [cited 2023 Nov 26]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30521221/

CRED & UNDRR. The human cost of natural disasters 2015: A Global Perspective [Internet]. Brussels, Belgium: Centre for Research on the Epidemiology of Disaster (CRED); 2015 [cited 2023 Nov 26]. Available from: https://reliefweb.int/report/world/human-cost-natural-disasters-2015-global-perspective

Alpert EA, Kohn MD. EMS Mass Casualty Response. 2023 Aug 8. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [cited 2023 Nov 26]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30725657/

DeNolf RL, Kahwaji CI. EMS Mass Casualty Management. 2022 Oct 10. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [cited 2024 Apr 16]. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29493995/

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. สถิติอุบัติเหตุประจำปี 2563-2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.thairsc.com/data-compare

ศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดมหาสารคาม. รายงานข้อมูลบาดเจ็บเสียชีวิตปี 2563-2565. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดมหาสารคาม; 2565.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. ข้อมูลอุบัติเหตุโรงพยาบาลมหาสารคาม ประจำปี 2563-2565. โรงพยาบาลมหาสารคาม; 2565.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

กมลทิพย์ แซ่เล้า, ประสิทธิ์ วุฒิสุทธิเมธาวี. โรงพยาบาลเตรียมพร้อมรับภาวะอุบัติภัยหมู่และภัยพิบัติ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อัลทิเมท พริ้นติ้ง; 2559 [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/upload/migrate/file/256205221501132225_B1aFr1ncCdtcTzrJ.pdf .

วีรยุทธ หมื่นบุญมี, ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล, ปฏิพร บุณยพัฒน์กุล. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่ต่อสมรรถนะของทหารกองประจำการ: กรณีศึกษา มณฑลทหารบกที่ 21 จังหวัดนครราชสีมา. วชิรสารการพยาบาล. 2565; หน้า 16-26.

แอน ไทยอุดม, อมราภรณ์ หมีปาน, พัชราภรณ์ อุ่นเตจ๊ะ, อริสรา อยู่รุ้ง, สุวีณา เบาะเปลี่ยน, อุษณีย์ อังคะนาวิน, เนตรดาว ชัชวาลย์. การฝึกทักษะการพยาบาลแบบบูรณาการเพื่อการจัดการภัยพิบัติและอุบัติภัยหมู่. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561;19(3):77-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29