การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่าง Captopril, Hydralazine และ Amlodipine ชนิดรับประทานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางพลี
คำสำคัญ:
ความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน, ยาลดความดันชนิดรับประทาน, ภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือดบทคัดย่อ
ภาวะความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย การรักษาอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ ยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานเป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ซึ่งมีหลายชนิดและการออกฤทธิ์แตกต่างกัน งานวิจัยในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการสรุปว่ายาชนิดใดมีประสิทธิผลสูงสุดในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตของ captopril, hydralazine และ amlodipine ชนิดรับประทาน ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ในแผนกฉุกเฉิน โดยการศึกษาแบบสังเกต รวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลบางพลี ตั้งแต่ 1 มิ.ย. พ.ศ. 2566 ถึง 31 พ.ค. พ.ศ. 2567 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน จะได้รับยา captopril (25 มิลลิกรัม) หรือ hydralazine (25 มิลลิกรัม) หรือ amlodipine (10 มิลลิกรัม) ชนิดรับประทาน อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามการตัดสินใจของแพทย์ผู้รักษา ผู้ป่วยจะถูกวัดความดันโลหิต หลังได้รับยาทุก 30 นาทีเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และจะได้รับการติดตามการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดเป็นเวลา 30 วัน วิเคราะห์ผลการลดความดันโลหิตของยาทั้ง 3 ชนิด และการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยสถิติ multivariable gaussian regression for correlated data นำเสนอในรูปของ mean และ risk difference อาสาสมัครจำนวน 105 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 56.2 อายุเฉลี่ย 61.0±15.0 ปี ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มี ความดันซิสโตลิก ความดันไดแอสโตลิก และความดันเฉลี่ย ลดลงที่เวลา 60 นาที 28.8±19.4, 16.9±16.5 และ 24.0±14.1 มม.ปรอท ตามลำดับ โดย hydralazine สามารถลดความดันไดแอสโตลิก และความดันเฉลี่ย ที่เวลา 60 นาที ได้ดีกว่า amlodipine คิดเป็น mean difference -9.84 และ -6.87 มม.ปรอท ตามลำดับ ขณะที่ captopril ไม่มีความแตกต่างในการลดความดันโลหิตเมื่อเทียบกับ amlodipine โดยทั้งสามกลุ่มนี้มีการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือดไม่แตกต่างกัน ดังนั้นยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานทั้ง 3 ชนิด สามารถลดระดับความดันโลหิตในผู้ป่วย hypertensive urgency ได้เป็นอย่างดี โดย hydralazine มีประสิทธิภาพดีที่สุด
References
กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; c2024 [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2567]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361
Williams B, Mancia G, Spiering W, Agabiti Rosei E, Azizi M, Burnier M, et aI. 2018 ESC/ESH Guidelines for the management of arterial hypertension. Eur Heart J 2018;39(33):3021-104.
Vlcek M, Bur A, Woisetschlager C, Herkner H, Laggner AN, Hirschl MM. Association between hypertensive urgencies and subsequent cardiovascular event in patients with hypertension. J Hypertens 2008;26(4):657-62.
O'Mailia JJ, Sander GE, Giles TD. Nifedipine- associated myocardial ischemia or infarction in the treatment of hypertensive urgencies. Ann Intern Med 1987;107(2):185-6.
Grossman E, Messerli FH, Grodzicki T, Kowey P. Should a moratorium be placed on sublingual nifedipine capsules given for hypertensive emergencies and pseudoemergencies? JAMA 1996;276(16):1328-31.
Narotam PK, Puri V, Roberts JM, Taylon C, Vora Y, Nathoo N. Management of hypertensive emergencies in acute brain disease: evaluation of the treatment effects of intravenous nicardipine on cerebral oxygenation. J Neurosurg 2008;109(6):1065-74.
Peixoto AJ. Acute Severe Hypertension. N Engl J Med 2019;381(19):1843-1852.
Sruamsiri K, Chenthanakij B, Wittayachamnankul B. Management of patients with severe hypertension in emergency department, Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. J Med Assoc Thai 2014;97(9):917–22.
Promyuang P. Comparing the efficacy of antihypertensive drug between captopril (25 mg) and hydralazine (25 mg) in patients with hypertensive urgency in emergency department, Chiangraiprachanukroh hospital. CRMJ 2022;14(1):17-30.
Iqbal AM, Jamal SF. Essential Hypertension. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [updated 2023 Jul 20; cited 2023 Feb 14]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539859/
Tackling G, Borhade MB. Hypertensive Heart Disease. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 [cited 2023 Feb 14]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539800/
Jackson RE, Bellamy MC. Antihypertensive drugs. BJA Education 2015;15(6):280-5.
IBM Micromedex® web application access [Internet]. Colorado: IBM Watson Health; 2022 [cited 2022 Feb 14]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/home/dispath/ssl/true
McComb MN, Chao JY, Ng TM. Direct Vasodilators and Sympatholytic Agents. J Cardiovasc Pharmacol Ther 2016 Jan;21:3-19.
Kessler CS, Joudeh Y. Evaluation and treatment of severe asymptomatic hypertension. Am Fam Physician 2010;81(4):470–6.
Adebayo O, Rogers RL. Hypertensive emergencies in the emergency department. Emerg Med Clin North Am 2015;33(3):539-51.
Campos CL, Herring CT, Ali AN, Jones DN, Wofford JL, Caine AL, et al. Pharmacologic Treatment of Hypertensive Urgency in the Outpatient Setting: A Systematic Review. J Gen Intern Med 2018;33(4):539-50.
Nakprasert P, Musikatavorn K, Rojanasarntikul D, Nara-jeenron K, Puttaphaisan P, Lumlertgul S. Effect of pre-discharge blood pressure on follow-up outcomes in patients with severe hypertension in the ED. Am J Emerg Med 2016;34(5):834-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.