อุปสรรคและความต้องการของผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน ในภาคเหนือ: การวิจัยแบบผสมผสาน
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2022.1คำสำคัญ:
การติดเชื้อ, อุปสรรค, ความต้องการ, ผู้ปฏิบัติการบทคัดย่อ
ผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อขณะปฏิบัติงานสูง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อุปสรรคในการปฏิบัติงานและความต้องการการสนับสนุนของผู้ปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ปฏิบัติงานใน 8 จังหวัดในภาคเหนือ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 262 ฉบับ จากจำนวนทั้งหมด 310 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 84.5 ผลการศึกษาพบว่า อุปสรรคในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการ คือ อุปกรณ์ป้องกันร่างกายไม่เพียงพอ (ร้อยละ 56.5) จำนวนบุคลากรน้อย (ร้อยละ 53.8) ขาดงบประมาณจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์กู้ภัย และอุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (ร้อยละ 49.6, 47.7 และ 40.8) ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน (ร้อยละ 37.4) ขาดการอบรม (ร้อยละ 34.4) ขาดการบำรุงรักษาเครื่องมือสื่อสาร (ร้อยละ 25.1) และขาดงบประมาณซ่อมบำรุงยานพาหนะ (ร้อยละ 24.4) สิ่งที่ต้องการการสนับสนุน คือ อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (ร้อยละ 84) การอบรมและการส่งเสริมทักษะในการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 66 และ 64.9) งบประมาณ (ร้อยละ 58.8) ค่าตอบแทน (ร้อยละ 56.1) การประกันชีวิต (ร้อยละ 53.4) และคู่มือการป้องกันการติดเชื้อ (ร้อยละ 48.1) ผลการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 106 คน อุปสรรคที่พบคือ ผู้ป่วยและญาติไม่ให้ข้อมูลการเจ็บป่วยที่ชัดเจนหรือปกปิดข้อมูล อุปกรณ์ป้องกันไม่เพียงพอและคุณภาพไม่ดี ขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ ความรู้ที่ต้องการได้รับคือ การป้องกันโรค การสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วยและของตนเองหลังจากปฏิบัติงาน รวมทั้งอันตรายจากสารเคมี สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนคือ การตรวจสุขภาพประจำปี วัคซีน ป้องกันโรค ประกันอุบัติเหตุ คู่มือและอุปกรณ์ป้องกัน การส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งและสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย รวมทั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการ จะมีส่วนช่วยลดอุบัติการณ์และผลกระทบจากการติดเชื้อจากเลือดหรือสารคัดหลั่งขณะปฏิบัติงาน
References
Leiss JK, Sousa S & Boal WL. Circumstances Surrounding Occupational Blood Exposure Events in the National Study to Prevent Blood Exposure in Paramedics. Industrial Health 2009;47:139-44.
Ganczak M, Topczewska K, Biesiada D, Korzen M. Frequency of qccupational bloodborne infections and sharps injuries among Polish paramedics from selected ambulance Stations. Int J Environ Res Public Health 2021; 18:60.
Chetty M, Govender, KP, & Sobuwa S. Occupational blood and body fluid exposure among emergency medical service providers in the eThekwini metropole of South Africa. AfJEM 2022;12:97-101.
Department of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention. Preventing exposures to bloodborne pathogens among paramedics [Internet]. [cited 2022 Mar 24]. Available from: https://www.cdc. gov/niosh/docs/wp-solutions/2010-139/pdfs/2010- 139.pdf
Boal WL, Hales T & Ross CS. Blood-borne pathogens among firefighters and emergency medical technicians, Prehospital Emergency Care 2005;9(2):236-47.
Lee DJ, Carrillo L, Fleming L. Epidemiology of hepatitis B vaccine acceptance among urban paramedics and emergency medical technicians. J Occup Environ Med 1996;38: 920-4.
Datta SD, Armstrong GL, Roome AJ & Alter MJ. Blood exposures and hepatitis C virus infections among emergency responders. Arch Intern Med 2003;163:2605- 10.
Harris SA, Nicolai LA. Occupational exposures in emergency medical service providers and knowledge of and compliance with universal precautions. Am J Infect Control 2010;38:86-94.
Mathews R, Leiss JK, Lyden JT, Sousa S, Ratcliffe JM, Jagger J. Provision, and use of personal protective equipment and safety devices in the national study to prevent blood exposure in paramedics. Am J Infect Control 2008; 36:743-9.
Leiss JK. Management practices and risk of occupational blood exposure in U.S. paramedics: non-intact skin exposure. Ann Epidemiol 2009;19:884-90.
ทิพวิไล ช่างสี. ผลของการให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อจาก การทำงานต่อความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการติดชื้อของอาสาสมัครกู้ภัย จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2544.
Unahalekhaka A. Knowledge and obstacles in prevention of bloodborne infections among first responders in Northern Thailand. American Journal of Infection Control 2016;44:S56.
Kironji AG, Hodkinson P, de Ramirez SS, Anest T, Wallis L, Razzak J, et al. Identifying barriers for out of hospital emergency care in low and low-middle income countries: a systematic review. BMC Health Services Research 2018;18:291.
Ren J, Wu O, Hao Y, Ferrier A, Sun H, Ding D & et al. Identifying weaknesses in national health emergency response skills and techniques with emergency responders: A cross-sectional study from China. Am J Infec Control 2017;45:e1-e6.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.