ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2022.2คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, จังหวัดพะเยาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย ญาติ จำนวน 242 ราย ที่รับบริการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ใน 7 อำเภอของจังหวัดพะเยา เก็บข้อมูลระหว่างเดือน 1 กันยายน 2564 ถึง 31 มกราคม 2565 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความพึงพอใจของการรับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่น ของกลุ่มตัวอย่างในการเรียกใช้บริการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ของจังหวัดพะเยา ด้านความสะดวกฉับไวต่อการบริการฯ มากที่สุด ร้อยละ 34.71 มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของหน่วยงานภาคเอกชนมากที่สุด ร้อยละ 78.09 ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.12, SD=0.59) โดยด้านระบบการบริการ คุณภาพการให้บริการ และบุคลิกภาพของเจ้าหน้าที่ อยู่ระดับมากที่สุด (Mean=4.66, 4.51, 4.32 SD=0.61, 0.59, 0.59) ตามลำดับ ปัญหาอุปสรรคและความต้องการ ได้แก่ ระบบการติดต่อศูนย์รับแจ้งเหตุยาก เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการไม่มีการติดบัตรแสดงตัวตนหรือแนะนำตัว ขาดความมั่นใจต่อความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่ และความสะอาดของรถกู้ชีพของมูลนิธิ ข้อเสนอแนะต่อการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของจังหวัดพะเยาคือ ทั้งภาครัฐและเอกชนควรนำเทคโนโลยีระบบ สารสนเทศมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร สนับสนุนส่งเสริมการสร้างภาคีเครือข่ายจิตอาสาระดับสถานศึกษา องค์กรภาคเอกชน และชุมชน ท้องถิ่นเชิงรูปธรรม เพื่อให้การบริการการแพทย์ฉุกเฉินครอบคลุมพื้นที่และทันต่อสถานการณ์
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานประจำปี 2564 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2564.
รักษ์นรินทร์ แก้วมีศรี, ธรรมพร หาญผจญศึก, นันท์นภัส สุจิมา, วธุสิริ ฟั่นคำอ้าย, สุปราณี ใจตา, ปัณณพัฒน์ คำตุ้ย, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน แบบบูรณาการเชิงพื้นที่สาหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงในบริบท ชุมชนภายใต้สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2560.
ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ. ทำไมบุคลากรสาธารณสุขจึงติดเชื้อ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 14 ธ.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2020/04/ 19158
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. รายงานผลการดำเนินงานโครงการป้องกันการติดเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่งขณะปฏิบัติงานของ ผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 14 ธ.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/1028? group=30
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.
Likert R. The method of constructing and attitude scale. In: Fishbeic M, editor. Attitude theory and measurement. New York: Wiley & Son; 1967. p. 90-5.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย; 2553.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือปฏิบัติเมื่อเกิด ภาวะฉุกเฉิน. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; ม.ป.พ.
สุชินชยันต์ เพ็ชรนิล. การให้บริการทางการแพทย์และ สาธารณสุขกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของประชาชน เทศบาลตำบลปราสาททอง อำเภอบางปะอิน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารจันทรเกษมสาร 2558;25: 135-44.
ชูชาติ ชูรัตน์. ประสิทธิผลการให้บริการของโรงพยาบาล พัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ 2561;6:16-24.
Pietig M. Communication is key to patient experience during and after COVID [Internet]. 2020 [cited 2021 Apr 23]. Available from: https://electronichealthreporter.com/ communication-is-key-to-patient-experience-during-and-after-cvoid
World Health Organization Western Pacific Region. Role of primary care in the COVID-19 response [Internet]. 2021 [cited 2021 Apr 24]. Available from: https:// apps.who.int/iris/handle/10665/331921
ขวัญดาว กล่ำรัตน์, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, ภัทรพล มหาขันธ์, นวลฉวี ประเสริฐสุข. ปัจจัยเชิงสาเหตุเชิงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2556;7:93-103.
เมธาวินี ขุมทอง. การศึกษาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของอาสาสมัครกู้ชีพฉุกเฉินเบื้องต้นในเขต อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556. 89 หน้า.
อรรณพ สุขไพบูลย์, ชุภาศิริ อภินันท์เดชา, ชาตรี เจริญชีวกุล. ความพึงพอใจของผู้รับบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. การประชุม วิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความ ยั่งยืน; 17 มิถุนายน 2559; วิทยาลัยนครราชสีมา, จังหวัด นครราชสีมา. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2559.
ชลธิชา ชุมอินทร์. กลไกการให้บริการในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564;7(5): 295- 309.
ธนกฤต จินดาภัทร. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการการพัฒนา ระบบการดูแลการเจ็บป่ วยฉุกเฉินทีครบวงจรในระดับตำบล ชุมชนชาติพันธุ์พื้นที่สูง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สยามพัฒน์นานา; 2564.
ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสกลนคร. ข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บและตัวชี้วัดการปฏิบัติงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. สกลนคร: โรงพยาบาลสกลนคร; 2554.
อัจฉริยะ แพงมา. ความท้าทายของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(1):61-70
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.