ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ภายในแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ธนาภรณ์ แสงสว่าง กลุ่มงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย
  • วีระวัฒน์ เธียรประธาน ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ไชยพร ยุกเซ็น ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.3

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพ, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, การกลับคืนของระบบไหลเวียนโลหิต

บทคัดย่อ

ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ทั่วโลก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อความสำเร็จในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลภายในแผนกฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการศึกษาแบบพยากรณ์โรคแบบย้อนหลังใน โรงพยาบาลหนองคาย ศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโดยเก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA version 16 ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 113 ราย ได้รับการฟื้นคืนชีพและมีสัญญาณชีพคืนมาอย่างน้อย 20 นาที ร้อยละ 32.74 เพศหญิงมีโอกาสในการกลับคืนของระบบไหลเวียนโลหิตมากกว่าเพศชาย 4.77 เท่า (95% CI=1.43-15.90) และระยะเวลาช่วยฟื้นคืนชีพทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นทุก 1 นาที โอกาสในการกลับคืนของระบบไหลเวียนโลหิตลดลงร้อยละ 9 (95%CI=4.60-6.20) โดยสรุป ผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มโอกาสการกลับคืนของระบบไหลเวียนโลหิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ขึ้นอยู่กับการเชื่อมโยงต่อเนื่องของห่วงโซ่การรอดชีวิต และจากการศึกษาครั้งนี้พบปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นคืนชีพต่อการกลับคืนของระบบไหลเวียนโลหิตในผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ และระยะเวลาช่วยฟื้นคืนชีพทั้งหมด ดังนั้น ควรส่งเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชน และการเข้าถึงเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติได้อย่างรวดเร็วในชุมชน

References

Myat A, Song KJ, Rea T. Out-of-hospital cardiac arrest: current concepts. Lancet 2018;391(10124):970-9.

McNally B, Robb R, Mehta M, Vellano K, Valderrama AL, Yoon PW, et al. Out-of-hospital cardiac arrest surveillance - Cardiac Arrest Registry to Enhance Survival (CARES), United States, October 1, 2005 December 31, 2010. MMWR Surveill Summ 2011; 60(8):1-19.

Atwood C, Eisenberg MS, Herlitz J, Rea TD. Incidence of EMS-treated out-of-hospital cardiac arrest in Europe. Resuscitation 2005;67(1):75-80.

Travers AH, Rea TD, Bobrow BJ, Edelson DP, Berg RA, Sayre MR, et al. Part 4: CPR overview: 2010 American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation 2010;122(18 Suppl 3):S676-84.

Sasson C, Rogers MA, Dahl J, Kellermann AL. Predictors of survival from out-of-hospital cardiac arrest: a systematic review and meta-analysis. Circ Cardiovasc Qual Outcomes 2010;3(1):63-81.

Pichedboonkiat P. Survival factors of out-of-hospital cardiac arrest in Chiangrai Prachanukroh Hospital. Chiangrai Medical Journal 2021;13(1):43-57.

Limesuriyakan W. Factors associated with the outcome of out-of-hospital cardiac arrest at Emergency Department, Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2018; 8(1):15-23.

Berdowski J, Berg RA, Tijssen JG, Koster RW. Global incidences of out-of-hospital cardiac arrest and survival rates: Systematic review of 67 prospective studies. Resuscitation 2010;81(11):1479-87.

Ong ME, Shin SD, De Souza NN, Tanaka H, Nishiuchi T, Song KJ, et al. Outcomes for out-of-hospital cardiac arrests across 7 countries in Asia: the Pan Asian Resuscitation Outcomes Study (PAROS). Resuscitation 2015;96:100-8.

Viereck S, Palsgaard Møller T, Kjær Ersbøll A, Folke F, Lippert F. Effect of bystander CPR initiation prior to the emergency call on ROSC and 30day survival - an evaluation of 548 emergency calls. Resuscitation 2017;111:55-61.

Yeeheng U. Factors associated with successful resuscitation of out-of-hospital cardiac arrest at Rajavithi Hospital’s Narenthorn Emergency Medical Service Center, Thailand. Asia Pac J Public Health 2011;23(4):601- 7.

Morais DA, Carvalho DV, Correa Ados R. Out-of-hospital cardiac arrest: determinant factors for immediate survival after cardiopulmonary resuscitation. Rev Lat Am Enfermagem 2014;22(4):562-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19