ส่วนขาดในการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับผู้ป่วยสูงอายุพลัดตกหกล้มในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และโทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นิตยา แสงประจักษ์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และโทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • สนธยา ไสยสาลี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.6

คำสำคัญ:

บริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ผู้สูงอายุ, การหกล้ม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนขาดและจัดทำข้อเสนอการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับ ผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มในประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาทุติยภูมิเชิงเอกสารในส่วนของการป้องกันก่อนเกิดเหตุ และการดำเนินการ ก่อนถึงโรงพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินสูงอายุที่พลัดตกหกล้มในประเทศไทย มีความสอดคล้องกับการดำเนินงานในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น โดยเน้นการป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ และมีการจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลเช่นเดียวกันโดยมีระบบการรับแจ้งเหตุผ่าน หมายเลขโทรศัพท์หมายเลขเดียว และใช้บุคลากรที่ให้บริการประกอบด้วย ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินในการรับแจ้งเหตุ ประเมินความรุนแรง แล้วสั่งปฏิบัติการฉุกเฉินให้การช่วยเหลือโดยผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น หรือเวชกิจฉุกเฉิน พยาบาลฉุกเฉิน แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือทั้งหมดตามความเหมาะสม และเน้นการมีส่วนร่วมในการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นเดียวกัน ในส่วนของความแตกต่าง รูปแบบการจัดบริการที่ประเทศไทยใช้ scoop and run แต่ในประเทศที่กล่าวถึงจัด บริการในรูปแบบ stay and stabilize ในไทยไม่มีนโยบายจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินแยกเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม ไม่มีการจัดบุคลากรด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มโดยเฉพาะเหมือนต่างประเทศ และขาดชุดคำถามของ ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินสำหรับอาการที่เกิดจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินเกี่ยวกับการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุที่ชัดเจนที่อาจ ทำให้ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉิน ขาดข้อมูลสำคัญในการสั่งการช่วยเหลือสำหรับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยฉุกเฉินจากการพลัดตกหกล้ม ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงจนทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิต หรือพิการได้ อย่างไรก็ตาม การจัดบริการของไทยยังมีจุดเด่นคือการมีส่วนร่วมในการดำเนินการของจิตอาสาประชาชน และจากมูลนิธิหรือภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรต่างๆ เข้ามาเสริมการให้บริการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุงให้มีชุดคำถามของผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินในคู่มือแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อให้ผู้จ่ายงานปฏิบัติการฉุกเฉินสามารถสั่งการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยฉุกเฉินจากการพลัดตก หกล้มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดการเสียชีวิต หรือพิการของผู้สูงอายุโดยไม่จำเป็น ควรเพิ่มศักยภาพบุคลากร ในระบบการแพทย์- ฉุกเฉินให้มีความรู้ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม และควรนำเทคโนโลยีที่เข้าถึง ใช้ได้ง่าย สามารถเชื่อมโยง กับระบบฐานข้อมูลเดิมที่ใช้อยู่ เช่น โปรแกรมไทยรีเฟอร์ โปรแกรม ITEMS อย่างมีประสิทธิภาพมาช่วยในการจัดบริการการ แพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ

References

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: World Health Organization; 2007.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ, กรุงเทพมหานคร: เดอะแฟรี่คาราวาน; ม.ป.ป.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2565]. จาก file:///C:/Users/dell/Downloads/ThaiElderly_2563.pdf

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12095&tid=1-001-003,38&gid=1-027

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www2. niems.go.th/th.

Wellington J. Education research: contemporary issues and practical approaches. London: Continuum;2000.

Scott J. Social research and documentary sources. Sage benchmarks in social research methods, documentary research volume 1. London: SAGE Publication; 2006.

Mogalakwe M. The use of document research methods in social research. African Sociological Review 2006;10:221–30.

สมชาย กาญจนสุต. คู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง;2560.

ศรวณีย์ ทนุชิต, ดนัย ชินคำ, ณัฐธิดา มาลาทอง, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส. สถานการณ์ของระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้ม: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย.วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562;6:57-68.

ทรงศักดิ์ ภูมิสายดร. สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี บัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

บุญญาภัทร ชาติพัฒนานันท์, โสพิศ เวียงโอสถ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม. ประสบการณ์ของผู้ป่วยสูงอายุในการใช้บริการ การแพทย์ฉุกเฉินโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตภาคเหนือ ตอนบนของไทย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38:102-15.

ปโย จำพล. การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้สูงอายุ ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัย กาฬสินธุ์; 2564.

Silawan T, Nitchaphat Khansakorn N, Laothong U. Factors influencing perceived needs for emergency medical services among elderly patients from four provinces in Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2019;50;925-34.

Centers for Disease Control and Prevention. Preventing falls: a guide to implementing effective community-based fall prevention programs. Atlanta, Georgia: Centers for Disease Control and Prevention; 2015.

American College of Emergency Physicians, American Geriatrics Society, Emergency Nurses Association, Society for Academic Emergency Medicine, Geriatric Emergency Department Guidelines Task Force. Geriatric emergency department guidelines. Ann Emerg Med 2014;63:e7-25.

Gillespie LD, Robertson MC, Gillespie WJ, Sherrington C, Gates S, Clemson LM, et al. Interventions for preventing falls in older people living in the community. Cochrane Database Syst Rev 2012(9):CD007146. 19. Falls Injury Prevention Collaborative, Education and Resource Working Group. Queensland how to stay on your feet® checklist v5. Patient safety and quality improvement service, clinical excellence Queensland, Queensland Health. Brisbane: the State of Queensland, Queensland Health; 2021.

Peel N, Bell RAR, Smith K. Queensland stay on your feet® community good practice guidelines – preventing falls, harm from falls and promoting healthy active ageing in older Queenslanders. Brisbane: the State of Queensland, Queensland Health; 2008.

Department of Health & Human Services Falls – services for older people [Internet]. [cited 2017 Jun 18]. Available from: https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/servicesandsupport/falls-services-for-older-people/

Tang A, Chin-Hao O, Ahmad A. Fall detection sensor system for the elderly. International Journal Of Advanced Computer Research 2015;5(19):176-83.

อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา, รัมภา บุญสินสุข, ไพลวรรณ สัทธานนท์. คู่มือการดูแลผู้สูงวัย: เดินดีไม่มีล้ม. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. ยากันล้ม คู่มือป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2548.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19