ผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการในพื้นที่

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ วชิรดิลก กลุ่มงานวิจัย สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.8

คำสำคัญ:

สุขภาพ, ผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่ง, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

ปัญหาด้านสุขภาพจิตนับเป็นปัญหาที่สำคัญไม่ต่างจากสุขภาพกายและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก โดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่มีอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะจิตประสาท อารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะกลุ่มอาการหนึ่งที่ถูกจัด อยู่ในกลุ่มอาการนำที่ 13 Criteria Based Dispatch (CBD-13) ของเกณฑ์ในการคัดแยกและจัดลำดับการให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 หมวด 3 การปฏิบัติการฉุกเฉิน ซึ่งนับตั้งแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉินจนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบำบัด รักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน แต่ผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งมีความเสี่ยง สูงต่อการทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่น และทำลายสิ่งของแวดล้อม การดูแลช่วยเหลือต้องคำนึงถึงความปลอดภัย 3P safety คือ เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ป่วย (patient) บุคลากร (personnel) และสังคม (people and public) จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยความ ร่วมมือจากสหสาขาวิชาชีพทั้งภายในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้น การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งจึงใช้หลักการบูณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเชื่อมกันอย่างไร้รอยต่อ ประกอบด้วย “ระบบชุมชน จัดการตนเอง” เน้นการสร้างความตระหนักให้ชุมชนผ่านการคัดกรองและคืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ สร้างมาตรการชุมชนโดย ชุมชน ทั้งในระยะเฝ้าระวังก่อนคลั่ง ขณะที่มีอาการคลุ้มคลั่ง และหลังกลับจากการรักษา เชื่อมรอยต่อกับ 191 และ 1669 ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระยะก่อนโรงพยาบาล ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล และการนำส่งโรงพยาบาลปลายทางที่เหมาะสม

References

World Health Organization. Mental disorders affect one in four people 2019. [cited 2019 August 21] Available from: https://www.who.int/whr/2001/media_centre/press_release/en/.

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).

พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125, ตอนที่ 36 ก (ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551).

พระราชบัญญัติสุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนที่ 50 ก (ลงวันที่ 16 เมษายน 2562).

เปรมฤดี ดารักษ์, อังคณา วังทอง, อนชิต วังทอง. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ปวยจิตเภทเรื้อรังซับซ้อน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 20 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูลhttp://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/1/DL_10.pdf?t=636673375421878284

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, อนุรัตน์ สมตน. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตที่เข้าถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;32(2):69-83.

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, รสสุคนธ์ ชมชื่น. การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิต แบบบูรณาการในพื้นที่. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข; 2562.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศการแพทย์ฉุกเฉิน (Information Technology for Emergency Medical System, ITEMS). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

พรทิพย์ วชิรดิลก, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, อัญชุลี เนื่องอุตม. การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะด้านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจิต คลุ้มคลั่งแบบบูรณาการในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนาวิชาการ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health system: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.

กองบริหารการสาธารณสุข. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

World Health Organization. The WHO traditional medicine strategy 2014-2023. Geneva: World Health Organization; 2014

กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. ฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V). นนทบุรี: กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2563.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัด กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และ สาธารณสุข Health Data Center (HDC). นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

พุทธจักร ช่วยราย และอาจินต์ สงทับ. การประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศในงานสาธารณสุข. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2019;6(3):229-36.

ธีรพงศ์ ลีลานุภาพ, ธนวัฒน์ กุสูงเนิน, ธัชกร จอมอุตม์. การพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือสำหรับร้องขอความช่วยเหลือ

ฉุกเฉินจากกล่มคน. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยี- สารสนเทศ. 2017;7(2):20-31.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2563.

ปัญญา พละศักดิ์ . การศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนิน งานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอของอำเภอเมือง ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2021;3(2):40-53.

พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138, ตอนที่ 73 ก (ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564).

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19