ข้อเสนอการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดจากโรคระบาดรุนแรง บทเรียนจากการบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินของสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรค COVID-19 ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงศ์ธร เกียรติดำรงวงศ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.9

คำสำคัญ:

ถอดบทเรียน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การจัดการ

บทคัดย่อ

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ในประเทศไทย มีความรุนแรงมากในปี พ.ศ. 2564 ยอดผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดถึง 9,635 รายการแพร่กระจายแบบรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤตสถานการณ์เตียงรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ไม่เพียงพอ และมีผลกระทบรุนแรงต่อการเข้าถึงบริการการรักษา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้เกิดความแออัดที่ห้องฉุกเฉิน (overcrowded emergency room) กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม และhospital ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อรักษากลุ่มผู้ป่วยที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียว คือ ผู้ป่วยอาการไม่มากหรือไม่มีอาการ แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และแผนสุดท้ายของการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คือการให้ผู้ป่วยโควิด 19 รักษาตัวเองจากที่บ้าน (home isolation) หรือเข้ารับการแยกกักตัวในชุมชน (community isolation) โดยมีทีมสหวิชาชีพด้านสุขภาพจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน คอยให้คำแนะนำในการดูแล ซึ่งเป็นแผนที่ช่วยลดความแออัดของผู้ป่วยได้ค่อนข้างมาก จากการได้มีส่วนร่วมเป็นแพทย์อาสาในโครงการ Primary Care Hub “ComCOVID-19 FM CoCare” ซึ่งให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาตัวเองจากที่บ้าน จึงได้พบข้อสังเกตที่ น่าเรียนรู้หลายเรื่อง จึงเป็นที่มาของการจัดทำข้อเสนอการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดจากโรคระบาดรุนแรง เพื่อเป็นข้อ สังเกตสำหรับการพัฒนา วางแผน แนวทางการรับมือต่อสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศไทยในครั้งถัดไป ซึ่งควรให้ความสำคัญ กับการจัดเตรียมทรัพยากรในการดูแลรักษาที่บ้าน รวมถึงการวางแนวทางในการจัดส่งยา เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปให้ผู้ป่วยที่บ้าน

References

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุม โรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/uploads/ files/2017420210820025238.pdf

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19. จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่และสะสม วันที่ 1 เม.ย. 2564 -14 ต.ค. 2564 [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://media.thai.gov.go.th/uploads/public_ img/source/141064.pdf

The Standard. เปิดข้อมูลเตียงผู้ป่วยโควิด 19 เหลือว่างเท่าไหร่ใน กทม.-ปริมณฑล [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://thestandard.co/ covid-19-patients-bed-information-in-bkk-perimeter

ศูนย์ข้อมูล COVID-19. ภาครัฐ เอกชน จิตอาสา ตั้งหน่วย บริการ 232 หน่วย ร่วมช่วยดูแลผู้ป่วยโควิดระบบ home isolation กทม. [อินเทอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 2 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/informationcovid19/photos/a.106142991004034/380 191600265837/?type=3

WHO Rapid Evidence Appraisal for COVID-19 Therapies Working Group, Sterne JAC, Murthy S, et al. Association between administration of systemic corticosteroids and mortality among critically ill patients with COVID-19: a meta-analysis. JAMA 2020;324:1330- 41.

Li H, Yan B, Gao R, Ren J, Yang J. Effectiveness of corticosteroids to treat severe COVID-19: a systematic review and meta-analysis of prospective studies. Int Immunopharmacol 2021;100:108121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19