การจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2022.16คำสำคัญ:
การจัดการพยาบาล, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด STEMI, แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
อุบัติการณ์ของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตทั่วโลกเฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด ST-elevated myocardial infarction (STEMI) พบมากถึงประมาณร้อยละ 40 ของโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันทั้งหมด การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาที่พบในการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วย STEMI ที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน ซึ่งส่งผลให้เกิดความล่าช้า และนำเสนอแนวทางในการจัดการทางการพยาบาลเพื่อลดความล่าช้าดังกล่าวในบริบทของแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูล PubMed, THAIJO, ProQuest, และ Science Direct ระหว่าง ปี พ.ศ. 2555-2565 หรือ ค.ศ. 2012-2022 ได้งานวิจัยฉบับสมบูรณ์ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ตรงตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 10 บทความ และทั้ง 10 บทความผ่านเกณฑ์ของสถาบันโจแอนนาบริกส์ ผลการสังเคราะห์ การทบทวนวรรณกรรม พบว่าปัญหาการจัดการทางการพยาบาลในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI ได้แก่ (1) ความล่าช้าในการทำ EKG (2) ความล่าช้าในการแปลผล EKG และ (3) ความล่าช้าในการเตรียมทีมให้มีความพร้อมในการดูแล เป้าหมายสำคัญของการรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือการช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไปเลี้ยงโดยเร็วที่สุด ไม่ว่าจะโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือการทำหัตถการทางหลอดเลือดหัวใจ การประเมินอาการและตรวจวินิจฉัย รวมทั้งการจัดการดูแลที่เหมาะสมอย่างรวดเร็วช่วยลดโอกาสสูญเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่างๆ ได้ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นจุดบริการด่านแรกที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะเข้ารับบริการ เมื่อมีอาการจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การจัดการพยาบาลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
References
มรุต จิรเศรษฐสิริ. อัตราการเสียชีวิตผู้ป่วย “โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน” ลดลงน้อยกว่า 10% [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://voicetv.co.th/read/ByJs69o87
Mechanic OJ, Gavin M, Grossman SA. Acute Myocardial Infarction [Internet]. [cited 2022 Nov 2]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459269/
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. My heart, your heart: ใจเขา ใจเรา #วันหัวใจโลก 2561 - Smart News [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 2 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.ashthailand.or.th/smartnews/post/detail/316/My-Heart-Your-Heart-%3A
Levine GN, Dai X, Henry TD, Press MC, Denktas AE, Garberich RF, et al. In-hospital ST-segment elevation myocardial infarction: improving diagnosis, triage, and treatment. JAMA Cardiol 2018;3(6):527–31.
Chew DP, Scott IA, Cullen L, French JK, Briffa TG, Tideman PA, et al. National Heart Foundation of Australia & Cardiac Society of Australia and New Zealand: Australian clinical guidelines for the management of acute coronary syndromes 2016. Med J Aust 2016;205(3): 128-33.
Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: the Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J 2018;39(2):119–77.
สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2557.
มาลี คำคง, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ. การดูแลผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของโรงพยาบาลชุมชน. EAU Heritage Journal Science and Technology 2017; 11(2):112–21.
อรอนงค์ ช่วยณรงค์, ดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแบบประเมินคัดกรองผู้ป่วยเจ็บแน่นหน้าอกหรือใต้ลิ้นปี่
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลระนอง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(3):187–96.
Yiadom MYAB, Baugh CW, McWade CM, Liu X, Song KJ, Patterson BW, et al. Performance of emergency department screening criteria for an early ECG to identify ST-segment elevation myocardial infarction. J Am Heart Assoc 2017;6(3):e003528.
Stanfield L. Improvement of door-to-electrocardiogram time using the first-nurse role in the ED setting. J Emerg Nurs 2018;44(5):466–71.
คะนึงนิจ ศรีษะโคตร, สุรัตน์ ทิพย์วัฒน์. การพัฒนารูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36(4):232–42.
ภัทรพงษ์ พีรวงศ์ . ประสิทธิภาพของการรักษาโดยใช้ระบบทางด่วนพิเศษในการรักษา ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2014;29(1):13–22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.