ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ โพธิยอด กลุ่มงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ สุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.11

คำสำคัญ:

การจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, ตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, หน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน

บทคัดย่อ

สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติ ส่งผลให้หน่วยปฏิบัติการทุกระดับมีการปรับเปลี่ยนเพื่อเตรียมความพร้อมและตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยด้านองค์การที่มีอิทธิพลต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน จังหวัดลำพูน ประชากร คือ ผู้ปฏิบัติการในหน่วยปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน จังหวัดลำพูน จำนวน 424 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน เป็นการสุ่มโดยใช้ตารางแสดงจำนวนประชากรและตัวอย่างที่จะสุ่มของ Krejcie RV และ Morgan DW เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.97 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า (1) ปัจจัยด้านบุคคลส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า เป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีประสบการณ์การทำงานด้านแพทย์ฉุกเฉินเฉลี่ย 5 ปี ภาระงานเฉลี่ย 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การอบรมเพิ่มเติมจำนวน 1 - 5 ครั้ง เฉลี่ย 2 ครั้ง ด้านความสามารถและทักษะการปฏิบัติงาน อยู่ระดับมากที่สุด (Mean=4.54, SD=0.46) (2) ปัจจัยด้านองค์การที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.19, SD=0.63) ได้แก่ ด้านการประสานงาน การรายงาน การวางแผนองค์การ การควบคุมสั่งการ การจัดการองค์การ การสนับสนุน การสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ การจัดการบุคลากร และด้านการจัดการงบประมาณ (3) การจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติเกือบทุกครั้ง (Mean=4.36, SD=0.54) และ (4) ปัจจัยด้านบุคคล และปัจจัยองค์การมีผลต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงตามลำดับคือ การสื่อสาร การจัดการองค์การ การวางแผน ภาระงาน และการศึกษา (β=0.22 , 0.19 , 0.14, 0.08 และ 0.07) โดยสามารถร่วมกันทำนายการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ร้อยละ 48.2 (R 2=48.2) ข้อเสนอแนะต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทุกองค์กรควรจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องในการป้องกัน ควบคุม และตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤต สามารถปรับใช้ในกรณีเกิดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสนับสนุนการพัฒนาความรู้ ทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปรกติใหม่

References

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การเตรียมความพร้อมและตอบสนองด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการ สนับสนุนการปฏิบัติการฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศปก. สพฉ.). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2563.

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 36, ตอนที่ 58 ง (ลงวันที่ 11 มีนาคม 2562).

ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ประเภท ระดับ อำนาจหน้าที่ ขอบเขต ความรับผิดชอบ และข้อจำกัดของหน่วยปฏิบัติการ พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136, ตอนพิเศษ 58 ง (ลงวันที่ 11 มีนาคม 2562).

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 9 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการการระบาดของโรคโควิด 19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่1). นนทบุรี: ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์; 2563.

ธีระ ศิริสมุด, สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, พรทิพย์ วชิรดิลก. การวิจัยเพื่อรองรับการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในกรณีโรคติดเชื้ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำร้ายแรง: กรณีศึกษา COVID 19. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.

เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ในจังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564. 98 หน้า.

Mohammadi F, Tehranineshat B, Bijani M, Khaleghi AA. Management of COVID-19-related challenges faced by EMS Personnel: a qualitative study. BMC Emergency Medicine 2021;21(1):95.

Pan American Health Organization. Prehospital emergency medical services (EMS): COVID-19 recommendations. Version 4.4. Washington DC: Pan American Health Organization; 2020.

Alexander AB, Masters MM, Warren K. Caring for infectious disease in the prehospital setting: a qualitative analysis of EMS providers experiences and suggestions for improvement. Prehosp Emerg Care 2020;24(1):77-84.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564. 98 หน้า.

อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์, จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. รายงานโครงการป้องกันการติดเชื้อจากเลือดและสารคัดหลั่งขณะปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายบริการสุขภาพที 1. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ ่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

Mechem CC. Emergency medical services. In: Tintinalli J, editor-in-chief. Tintinalli’s emergency medicine: a comprehensive study guide. 9th edition. New York: McGraw-Hill Education; 2020. pp. 1-6.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์แบบประเมินตนเองการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (Thai Emergency Medical Service Accreditation: TEMSA) สำหรับหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 3 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://niems.go.th/temsa_web/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28

How to Cite

1.
โพธิยอด ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยปฏิบัติการประเภทปฏิบัติการแพทย์ระดับพื้นฐาน จังหวัดลำพูน. Jemst-01JHS [อินเทอร์เน็ต]. 28 ธันวาคม 2022 [อ้างถึง 5 กุมภาพันธ์ 2025];2(2):114-25. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/Jemst-01JHS/article/view/448