ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ ที่มารับบริการโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี
DOI:
https://doi.org/10.14456/jemst.2022.13คำสำคัญ:
การบาดเจ็บที่ศีรษะ, อุบัติเหตุจักรยานยนต์, ความรุนแรงของการบาดเจ็บบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ที่มารับบริการโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากรายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรีในปีงบประมาณ 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางถึงรุนแรงกับกลุ่มบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย และสถิติอ้างอิง ได้แก่ Chi-square test และ binary logistic regression ผลการศึกษาพบว่าผู้ประสบเหตุจักรยานยนต์ที่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ จำนวน 458 ราย เป็นเพศชาย 289 ราย (ร้อยละ 63.1) อายุระหว่าง 20 ถึง 59 ปี 296 ราย (ร้อยละ 64.6) เป็นผู้ขับขี่ 376 ราย (ร้อยละ 82.1) สถานที่เกิดเหตุมักเป็นถนนสายรอง 358 ราย (ร้อยละ 78.2) เวลาที่เกิดเหตุเป็นช่วงเวลาเวรบ่ายคิดเป็นร้อยละ 46.5 กลไกการเกิดการบาดเจ็บมาจากการตกหล่นและพลิกคว่ำจากรถจักรยานยนต์คิดเป็นร้อยละ 52.2 พฤติกรรมเสี่ยงไม่สวมหมวกขณะขับขี่คิดเป็นร้อยละ 93 ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็นร้อยละ 85.8 และมีระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 96.3 การศึกษานี้พบว่าอายุของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์และการดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ที่มีอายุ 20-59 ปี มีระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับปานกลางถึงรุนแรงและการบาดเจ็บที่ศีรษะในระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 94.1 และร้อยละ 63.5 ตามลำดับ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ดื่มแอลกอฮอล์มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางถึงรุนแรงมากกว่าการเกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยคิดเป็น 4.68 เท่า ส่วนปัจจัยด้านเพศ ประเภทผู้ใช้รถ สถานที่เกิดเหตุ เวลาที่เกิดเหตุ กลไกการเกิดการบาดเจ็บ พฤติกรรมการสวมหมวก ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์ ดังนั้น อายุของผู้ประสบอุบัติเหตุจักรยานยนต์และการดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ จึงควรกวดขันและตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรอย่างเข้มงวด จริงจัง และสม่ำเสมอในเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ขณะขับขี่เพื่อสร้างวินัยให้ผู้ขับขี่ ทำให้ลดความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ ตลอดจนลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20-59 ปี
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 4 (2566-2570). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.
วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์. ระบบการพัฒนาบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. ใน: ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, ชนนิกานต์ สิงห์พยัคฆ์, บรรณาธิการ. รายงานประจำปี 2558 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2559. หน้า 30-3.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิทยากรหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการเคลื่อนย้ายขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพรส; 2547.
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือวิทยากรหลักสูตรเวชกรฉุกเฉิน ระดับพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เอ็นทีเพลส; 2548
สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: แอลทีเพลส; 2548.
พระราชบัญญติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. กฎหมาย ประกาศ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข เกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการศึกษาฝึกอบรม และการให้ประกาศนียบัตรผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2560.
ประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง หลักสูตรหลักการฝึกอบรมช่วยอำนวยการ พ.ศ.2558 [อินเทอร์เน็ต]. 2558. [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook?group=10&data_per_page=10&page=9
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง การให้ประกาศนียบัตรและการปฏิบัติการฉุกเฉินของผู้ปฏิบัติการ พ.ศ. 2554. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 131ง (ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554).
ข้อบังคับคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ว่าด้วยการกำหนดผู้ปฏิบัติการ การรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาหรือฝึกอบรมผู้ปฏิบัติการและการให้ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมายวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาหรือฝึกอบรม พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137, ตอนพิเศษ 96ง (ลงวันที่ 24 เมษายน 2563).
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิฉุกเฉินการแพทย์ (มคฉ.1) พ.ศ.2565.
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139, ตอนพิเศษ 106 ง (ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2565).
พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาฉุกเฉินการแพทย์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่138, ตอนที่ 46 ก (ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564). [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/13170?group=16
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.