ประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วรถพยาบาลต่อ การลดอุบัติการณ์ทางถนนของรถพยาบาล ในจังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
อุบัติเหตุ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, มาตรการรถพยาบาลปลอดภัย, พนักงานขับรถพยาบาลบทคัดย่อ
พนักงานขับรถพยาบาลต้องรับผิดชอบชีวิตของผู้ร่วมงาน ผู้ป่วย และญาติที่ร่วมเดินทาง จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 ถึง พ.ศ. 2562 พบอุบัติเหตุ 110 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 318 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงมีมาตรการรถพยาบาลปลอดภัยในทุกเขตสุขภาพ โดยเน้นที่วิธีการขับและการปฏิบัติตามกฎหมาย แต่ยังไม่มีแนวทางสนับสนุนในประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการฯ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถพยาบาลในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานีและศึกษาประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วของรถพยาบาลต่อการลดอุบัติการณ์ทางถนนของรถพยาบาลในจังหวัดอุดรธานี โดยทำการวิจัยแบบกึ่งทดลองกลุ่มเดียว (Quasi experimental one group research) กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 90 คน ทดลองใช้ GPS ควบคุมความเร็วและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังทดลองด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศชาย ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรสคู่ อายุเฉลี่ย 39.54 ปี มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 12.4 ปี มีคะแนนพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาลก่อนการทดลองใช้โปรแกรม SPSS อยู่ในระดับปานกลาง (mean=77.44, SD =6.03) และหลังการทดลองอยู่ในระดับดี (mean=97.16, SD =5.14) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยหลังการทดลองใช้โปรแกรมมีระดับคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลอง นอกจากนี้ อัตราอุบัติการณ์ทางถนนหลังการทดลองใช้โปรแกรม GPS ควบคุมความเร็วของรถพยาบาล (2.23 ครั้ง/1,000) ลดลงจากก่อนใช้โปรแกรม GPS ควบคุมความเร็วของรถพยาบาล (4.69 ครั้ง/1,000) โดยมีอัตราอุบัติการณ์ทางถนนลดลงร้อยละ 40 ซึ่งมีสาเหตุจากการไม่กระทำในสิ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เช่น การขับขี่เร็วกว่ากำหนดไม่เปลี่ยนช่องจราจรหรือแซงกะทันหัน ไม่ขับรถในระยะกระชั้นชิดและมีพฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น ประสิทธิผลของการควบคุมความเร็วรถพยาบาลต่อการลดอุบัติการณ์ทางถนนสามารถลดการบาดเจ็บและลดการตายของบุคลากรและผู้ป่วยได้
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. รายงานการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย. นนทบุรี . สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
สถาบนัการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. หลักสูตรฝึกอบรมพนักงานขับรถพยาบาล Thai Emergency Ambulance Driving Course (TEAm) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
สถาบนัการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ผลการดำเนินงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. [อินเทอร์เน็ต] [สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2561]. แหล่งข้อมูล: https://ws.niems.go.th>ITEMS_DWH
อนุชา เศรษฐเสถียร, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก ,สุชาติ ได้รูป. สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย, วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;9(3): 279-93.
มธุริน เถียรประภากุล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานหน่วยงานผลิตโอเลฟินส์ 1 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)สาขาที่2 [การค้นคว้าอิสระวิทยศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม].กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2556.
อธิราช มณีภาค. ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและประสิทธิผลการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.
อนุรักษ์ อมรเพชรสถาพร, สุชาติ ไต้รูป, วิภาดา วิจักขณาลักษณ์,กมลทิพย์ แซ่เล้า, ศิริชัย นิ่มมา. แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (safety).นนทบุรี : อัลติเมท พริ้นติ้ง จำกัด : 2557.
สุวรรณา ภัทรเบญจพลและทัดตา ศรีบุญเรือง. พฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎจราจรของชุมชนมหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.วารสารเภสัชศาสตร์ อีสาน Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 2557: 9 (ฉบับพิเศษ) : 134-136.
ทะนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข, พิศมัย เสรีขจรกิจเจริญ และพรทิพย์ เย็นใจ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัย ทางถนนของบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2556; 22(6), 937-943.
นิภา อินทนิล. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ของพนักงานขับรถประจำโรงพยาบาลชุมชน.วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาสุขศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์; 2545.
กวี เกื้อเกษมบุญ. การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของอุบัติเหตุจราจรถนน.วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. [คณะวิศวกรรมศาสตร์.สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2545.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.แนวทางการสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากจราจรทางถนน นนทบุรี; 2549.
ปัญญา จันทรสุขโข.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
ฉัตร์แก้ว ละครชัย, ดรุณวรรณ สมใจ. การประเมินการจัดการความปลอดภัยในโรงพยาบาลและความสัมพันธ์กับอัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุของพยาบาล กรณีศึกษา โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์; 2559;2(6):173-87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.