การกระจายของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินกับการเข้าถึงบริการและประสิทธิภาพการบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธงศักดิ์ชัย สายพระราษฎร์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • นิตยา แสงประจักษ์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • วรกร วิชัยโย สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และโทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ธวัชวงชัย ไตรทิพย์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และโทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.15

คำสำคัญ:

การเข้าถึงบริการ, การกระจายของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน, ประสิทธิภาพบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายรูปแบบการกระจายของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินกับการเข้าถึงบริการและประสิทธิภาพ การบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย เพื่อนำไปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อผู้เกี่ยวข้องต่อไป โดยเป็นการศึกษาทุติยภูมิเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า การเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติในภาพรวม มีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินผ่านหมายเลข 1669 ร้อยละ 33.71 และอีกร้อยละ 66.29 ใช้บริการแต่ไม่ผ่าน หมายเลข 1669 การกระจายของชุดปฏิบัติการฉุกเฉินส่วนใหญ่มีลักษณะกระจายหลายจุดใกล้ชุมชน หรือจุดเสี่ยงต่อการเกิด เหตุฉุกเฉิน (ร้อยละ 59.95) ระยะทางจากจุดเกิดเหตุถึงจุดจอดรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินโดยเฉลี่ย 25.63 กิโลเมตร (SD=22.62 กิโลเมตร) และระยะทางจากจุดเกิดเหตุถึงโรงพยาบาลเฉลี่ย 39.46 กิโลเมตร (SD=14.80) ผลจากการกำหนด อัตราความเร็วของรถพยาบาลหรือรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินต้องใช้เวลาจากจุดจอดรถถึงจุดเกิดเหตุ และนำส่งผู้ป่วยถึงโรงพยาบาลประมาณ 48.98 นาที ซึ่งเป็น 6.12 เท่าของ เป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกิน 8 นาที ประสิทธิภาพของบริการ ประเมินจากความพึงพอใจและความเชื่อมั่นในบริการ พบว่าภาพรวม ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในบริการอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 64.89 ค่าเฉลี่ย=3.59 SD=1.66) มีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย ต่อระบบ และหากมีความจำเป็นก็จะใช้บริการอีก ร้อยละ 71.16 ข้อเสนอแนะ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ภาคประชาชน ควรเร่งรัดสร้างความรู้ การรับรู้ ความรอบรู้เกี่ยวกับระบบบริการและการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อยกระดับ การเข้าถึงบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ควรบริหารจัดการการกระจายจุดจอดหรือหน่วยปฏิบัติการให้มี ความครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เพื่อลดระยะทางและเวลาในการเข้าถึงบริการของประชาชน ควรปรับปรุงรูปแบบการปฏิบัติการฉุกเฉิน  โดยผสมผสานแนวคิดแบบ Scoop and Run ของ Anglo-American Model (AAM) กับแนวคิดแบบ Stay and Play ของ Franco German Model (FGM) เพื่อให้มีหัตถการแก่ผู้ป่วยระหว่างการนำส่งให้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

References

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: World Health Organization; 2007.

สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์. สรุปรายงานการป่วยพ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์ชี้วัดด้านการแพทย์ฉุกเฉิน: รายงานติดตามผลต่อเนื่อง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ws.niems.go.th/KPI57/2557/kpireportcontinue01.aspx

สถาบันพระปกเกล้า. โครงการวิจัยประเมินผลอุบัติเหตุจราจร. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า; 2548.

ไพบูลย์ สุริยวงศ์ไพศาล, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, วิทยา ชาติบัญชาชัย, อนุชา เศรษฐเสถียร, จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์,

นธีรัตน์ ธรรม์โรจน์. การประเมินการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน. นนทบุรี: สำนักวิจัยและพัฒนาระบบประกัน

สุขภาพไทยเครือข่ายสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2552.

จารุวรรณ ธาดาเดช, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, ไพบูลย์ สุริยะ วงศ์ไพศาล. วิวัฒนาการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23(3): 513-22.

ณัชชา หาญสุทธิเวชกุล, บริบูรณ์ เชนธนากิจ, บวร วิทยชำนาญกุล. เหตุใดคนเชียงใหม่เมื่อเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุจึงไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(2):268-77.

ธงชัย อามาตยบัณฑิต. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการระบบการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนและผู้ป่วยวิกฤตในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(5):883-95.

วิทยา โพธิ์หลวง. ประสบการณ์การสร้างความปลอดภัยให้ผู้ป่วยในระบบปฏิบัติการฉุกเฉินภายนอกโรงพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล 2560;19(2):52-6.

กองสาธารณสุขฉุกเฉิน. คู่มือมาตรฐานรถพยาบาลกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยปลอดภัย. นนทบุรี. กลุ่มพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน กองสาธารณสุขฉุกเฉิน; 2563.

Scott J. Social research and documentary sources. Sage benchmarks in social research methods, documentary research, Volume 1. London: SAGE Publication; 2006.

Wellington J. Education research: contemporary issues and practical approaches. London: Continuum; 2000.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

Mogalakwe M. The use of document research methods in social research. African Sociological Review 2006; 10:221–30.

สมชาย กาญจนสุต. คู่มือปฏิบัติการฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: อัลทิเมทพริ้นติ้ง; 2560.

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 16 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www2.niems.go.th/th

ธาดารัตน์ นาคสังข์. มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิด กรณีของผู้ปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อ ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน [สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2560.

สุรจิต สุนทรธรรม. คำอธิบายประกอบพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2551.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เกณฑ์วิธีการคัดแยกและจัดลำดับการจ่ายงานบริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2556.

อนุชา เศรษฐเสถียร, ธีระ ศิริสมุด, พรทิพย์ วชิรดิลก, สุชาติ ได้รูป, ศิริชัย นิ่มมา. สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาลในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;9(3):279-93.

นภัสวรรณ พชรธนสาร, วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, รัชนี คนึงคิด, มาลินี บุณยรัตพันธ์. สิ่งคุกคามต่อสุขภาพและอุบัติเหตุจราจรระหว่างการปฏิบัติงานของคนขับรถปฏิบัติการฉุกเฉิน. วารสารควบคุมโรค 2559;42(4):304-14.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยรถพยาบาล. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานรถพยาบาลกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อส่งต่อผู้ป่วยปลอดภัย. นนทบุรี: กองสาธารณสุขฉุกเฉิน; 2563.

ทรงศักดิ์ ภูมิสายดร. สถานการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564.

อัจฉริยะ แพงมา. ทิศทางของระบบการแพทย์ฉุกเฉินไทย. ใน: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2562: มุ่งสู่ยุคใหม่การแพทย์ฉุกเฉินไทย “Next Generation EMS”. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2562. หน้า 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28