คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สหัศถญา สุขจำนงค์ โรงพยาบาลนาดูน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.13

คำสำคัญ:

คุณภาพ, การคัดแยก, ประเภทผู้ป่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2563 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) พยาบาลจุดคัดแยกพยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน และเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 22 คน และ (2) ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน จำนวน 270 คน คัดเลือกตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมิน Emergency Severity Index (ESI) และแบบบันทึกการคัดแยกผู้ป่วย MOPH ED triage วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและสถานการณ์การคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน ได้แก่ การคัดแยกผู้ป่วยผิดพลาดในผู้ป่วยประเภทฉุกเฉิน (urgency) ร้อยละ 32.14 โดยข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดจากไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและการมอบหมายหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีแต่การพูดคุยและปฏิบัติ แยกประเภท และส่งข้อมูลในจุดบริการที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจน ขาดการประเมินและติดตามการจำแนกประเภทผู้ป่วย เก็บข้อมูลไม่เป็นระบบ ไม่มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน การพัฒนาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน ประกอบด้วย (1) สร้างแนว-ปฏิบัติการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน มอบหมายงานเป็นลายลักษณ์อักษรของพยาบาลคัดแยก และพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน และ (2) อบรมเชิงปฏิบัติการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินแก่พยาบาลจุดคัดแยก พยาบาลงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน และเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ การติดตามประเมินผลพบการเจ็บป่วยฉุกเฉินส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่ม non-trauma ร้อยละ 74.08 โดยญาตินำส่ง ร้อยละ 46.30 การคัดแยกประเภทผู้ป่วยแบ่งระดับความฉุกเฉินเร่งด่วน (ESI 3) ร้อยละ 40.74 ฉุกเฉินไม่เร่งด่วน (ESI 4) ร้อยละ 35.56 และฉุกเฉินวิกฤต (ESI 2) ร้อยละ 12.59 การประเมินคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินมีความถูกต้อง ร้อยละ 81.48 โดยพยาบาลวิชาชีพคัดแยกไม่ถูกต้อง ร้อยละ 17.03 เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ร้อยละ 21.59 ซึ่งการประเมินที่ผิดพลาดส่วนใหญ่ คือ ประเมินผู้ป่วยต่ำกว่าเกณฑ์ (under triage) ร้อยละ 3.33 สูงกว่าเกณฑ์ (over triage) ร้อยละ 15.19

References

Trzeciak S, Rivers E. Emergency department overcrowding in the United State: An Emerging Threat to Patient Safety and Public Health. Emerq Med J 2003;20:402-5.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวปฏิบัติ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี:สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

Gilboy N, Tanabe T, Travers D, Rosenau AM. Emergency severity index (ESI): a triage tool for emergency department care,version 4: implementation handbook,2012 edition. Rockville: Agency for Healthcare Research and Quality; 2011.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกผู้ป่วยของงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย.วารสารสภาการพยาบาล 2559;31(2):96-108.

Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E.Modern triage in the emergency department. Dtsch Arztebl Int 2010;107:892-8.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561

พนอ เตชะอธิก, ปริวัฒน์ ภู่เงิน. กระบวนการคัดแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน. ใน: ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ ภู่เงิน ,กมลวรรณ เอี้ยงฮง, กรกฏ อภิรัตน์วรากลุ , พะนอ เตชะอธิก. Essential knowledge in emergency care. พิมพ์ครั้งที่ 1.ขอนแก่น: คลังนานา; 2557.

นงค์เยาว์ อินทรวิเชียร. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2562;2:43-53.

จันทรา จินดา. ผลการใช้รูปแบบคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วนต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความพึง พอใจในงานของพยาบาลหน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินวิทยาลัย แพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิระพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31 — Updated on 2021-12-31

Versions