การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนสรณ์ ศรีใช้ประวัติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2022.14

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, บริการก่อนถึงโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหาในการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของจังหวัดนนทบุรี พัฒนาแนวทาง และศึกษาผลลัพธ์การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาลของจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินที่มารับบริการด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลของรัฐในเขตจังหวัดนนทบุรี จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ใช้บริการ (2) แบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงาน และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษา ได้แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล 3 ระยะคือ (1) ระยะเตรียมการ วิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล (2) ระยะดำเนินการพัฒนาตามองค์ประกอบของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล และ (3) ระยะศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวทางดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล พบการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านคือ (1) ด้านผู้ป่วยได้รับการปฏิบัติการดูแลจากทีมปฏิบัติการอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีความพึงพอใจระดับมาก (2) ด้านทีมปฏิบัติการและระบบการแพทย์ฉุกเฉิน มีความเข้าใจและปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินที่จัดทำขึ้นได้ถูกต้อง ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านความรู้และทักษะการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และ (3) ด้านความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี และเทศบาลนครนนทบุรี จากผลการศึกษาเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการดูแลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน ควรจัดทำแผนประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างครอบคลุมทุกอำเภอในเขตจังหวัดนนทบุรี เรื่องการแจ้งเหตุ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การขอความช่วยเหลือผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1669 อย่างถูกต้องและชัดเจน

References

Yaisien S, Alvi T. World Health Organization. Prehospital trauma care system. Geneva: WHO; Does pervceived social support predict quality of life in psychiatric patients. Asian J Soc Sci Human; 2013.

World Health Organization. Prehospital trauma care systems. Geneva: World Health Organization; 2005.

ธีระ ศิริสมุด, กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วิชรดิลก. ความรู้ ทัศนคติและเหตุผลที่ไม่เรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2561;12(4):668-80.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. ระบบคลังข้อมูลการแพทย์ฉุกเฉิน (สถิติการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉิน)

[อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.Niems.go.th/1/?redirect=True&Lang=TH

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินกำหนด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2558.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สารานุกรมเสรี จังหวัดนนทบุรี [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: www.th.wikipedia.org/wiki/

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Assoc; 1988.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน (ระดับโลกและประเทศไทย) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th

Lerner EB, Moscati RM. The golden hour: scientific fact or medical urban legend. Academic Emergency Medicine. 2001;8:758-60.

รัดเกล้า วงศ์ชัยสุริยะ, เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, ยุทธนา โค้ว จิริยะพันธุ์, พรธีรา พรหมยวง. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอุบัติเหตุที่นำส่งด้วยชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูงของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย 2564;1(1):14-22.

นิกร จันกิลม, ลักษณ์ ชุติธรรมวนันท์, ธนาวรรณ แสนปัญญา. การพัฒนารูปแบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข

; 31(3):176-88.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [สืบค้นเมื่อ 25 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: www.sawangmetta.ob.tcm

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. มาตรฐานและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ฉบับที่ 1). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

กัญญา วังศรี. การบริการการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย.การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2556. ขอนแก่น: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28