ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • ธีระ ศิริสมุด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • พรทิพย์ วชิรดิลก

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2023.1

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, การแพทย์ฉุกเฉิน, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แผนการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 โรงเรียน ในจังหวัดเชียงราย ร้อยเอ็ด สระแก้ว นครศรีธรรมราช และกรุงเทพมหานคร จำนวน 237 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การพัฒนาแผนการเรียนรู้ ศึกษาด้วยการทบทวนเอกสาร และการสนทนากลุ่ม การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ การทดสอบค่าที แบบ one-samples t-test และ t-test paired samples ผลการวิจัยพบว่า แผนการเรียน รู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับนักเรียน มีโครงสร้างแผนตามองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ มีเนื้อหาประกอบด้วย (1) ความรู้ เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน (2) อาการฉุกเฉินและการขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (3) การปฐมพยาบาล-ฉุกเฉิน (4) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องเออีดี (AED) และ (5) การป้องกันการเกิดเหตุ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์คะแนน ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะควรส่งเสริมให้มีการนำแผนการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินไป ใช้ในโรงเรียนอื่นๆ และผลักดันให้นำไปบรรจุในหลักสูตรของโรงเรียนทั่วประเทศ

References

พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125, ตอนที่ 44 ก (ลงวันที่ 6 มีนาคม 2551).

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะกราฟิ โกซิสเต็มส์; 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.

จิตติ โฆษิตชัยวัฒน์. บทความทางวิชาการ ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา fast track STEMI ประเทศไทย ฉบับผู้บริหาร ตามโครงการวิจัยประเมินผลเพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (ด้านโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน). นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2552.

Søholm H, Hassager C, Lippert F, Winther-Jensen M, Thomsen JH, Friberg H, et al. Factors associated with successful resuscitation after out-of-hospital cardiac arrest and temporal trends in survival and comorbidity. Annals of Emergency Medicine 2015;65(5):523-31.

Fan K, Leung L, Siu Y. Out-of-hospital cardiac arrest in Hong Kong: a territory-wide study. Hong Kong Medical Journal 2017;23(1):48-53.

พรรณารัฐ อร่ามเรือง, กรองกาญจน์ สุธรรม, บวร วิทยชำนาญกุล, วีรพล แก้วแปงจันทร์, วิพุธ เล้าสุขศรี, รัดเกล้า สายหร่าย, และคณะ. การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563;14(1):40-50.

สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย. การปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน 2563. กรุงเทพมหานคร: นิวธรรมดาการธรรมพิมพ์; 2563.

กิตติพงศ์ พลเสน, พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, ญัฐวุฒิ คำนวณฤกษ์. สถานการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการไม่ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินที่เข้ารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อัลติเมทพริ้นติ้ง; 2560.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มืออาสาฉุกเฉินชุมชน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Upload/migrate/File/255806170927272659_RjIY5vBXo478QPsb.pdf

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2551.

มารุต พัฒผล. แนวคิดการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้; 2562.

Joyce B, Weil M. Models of teaching. New Jersey: Prentice-Hall; 2009

มณีรัศมิ์ พัฒนสมบัติสุข. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาลและสังคมศาสตร์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8(2): 329-43.

บุญใจ ศรีสถติย์ยรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2553.

เกรียงศักดิ์ ยุทโท. การพัฒนาการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดเชียงราย. รายงานสืบเนื่องการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 22 “ชีวิตใหม่ของการศึกษาในสังคมดิจิทัล” เล่มที่ 3 กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 16 สิงหาคม 2565; มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, จังหวัดนครสวรรค์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2565. หน้า 149-58.

เกรียงศักดิ์ ยุทโท. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่บนภูเขา. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562;6:48-56.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, ชัจคเณค์ แพรขาว. ผลของโปรแกรมสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นต่อในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข 2561;28(2):118-32.

นันทวรรณ ทิพยเนตร. การพัฒนาสมรรถนะอาสาสมัครสาธารณสุขนักเรียนมัธยม (อสม.) ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ฉลองครบรอบทศวรรษสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประจำปี 2559 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2559

วริศรา เบ้านู. ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562;6: 37-47.

เกรียงศักดิ์ ยุทโท, เครือวัลย์ สุมงคลเจริญ, จิตรา พรหมจักร. การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้และกระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินเชิงสร้างสรรค์อย่างมีส่วนร่วม จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116, ตอนที่ 74 ก (ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29