การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจร โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัวบาน ปักการะโต โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
  • สหัศถญา สุขจำนงค์ โรงพยาบาลนาดูน
  • อนุชิต สิ้วอินทร์
  • วิศรุต ศรีสว่าง โรงพยาบาลนาดูน
  • ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.14

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การช่วยฟื้นคืนชีพ, โรงพยาบาลนาดูน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจรโรงพยาบาลนาดูน และเพื่อประเมิน ความรู้ ทักษะ และเจตคติของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนาดูนในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมายคือ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนาดูน จำนวน 136 คน ระยะเวลาในการศึกษา สิงหาคม 2562 ถึงมกราคม 2563 เก็บรวบรวบข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ ก่อน/หลังการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ สังเกตทักษะปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ และ แบบประเมินเจตคติในการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและสถานการณ์คือ เจ้าหน้าที่ขาดทักษะและความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพ เจ้าหน้าที่บางคนยังไม่ผ่านการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจรโรงพยาบาลนาดูน ประกอบด้วย (1) สร้างรูปแบบการฝึกอบรมสำหรับทีมกู้ชีวิตของโรงพยาบาลนาดูน (2) อบรมเชิงปฏิบัติการใช้แนวปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานให้กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนาดูนทุกคน ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ย 4.93 คะแนน และ หลังการอบรมคะแนนเฉลี่ย 8.22 คะแนน การประเมินทักษะปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพประเมินทุก 2 เดือน ครั้งที่ 1 ทำถูกต้อง ร้อยละ 80 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 90 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 98 การประเมินความพึงพอใจ พบมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการอบรมแบบ สัญจรมากที่สุด ร้อยละ 90 ด้านการเตรียมตัว/การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากร ร้อยละ 89.85 การประเมินแบบวัดเจตคติต่อการ ช่วยฟื้นคืนชีพด้านบวกพบว่าการช่วยฟื้นคืนชีพเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรรู้และต้องปฏิบัติได้ ถ้ามีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ ทุกคนก็จะมีความมั่นใจและสามารถปฏิบัติได้

References

American Heart Association. American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care [internet]. 2010 [cited 2010 Nov 24]. Available from: http://circ.ahajournals.org/cgi/content/full/122/18

Cooper S, Janghorbani M, Cooper G. A decade of in-hospital resuscitation: Outcomes and prediction of survival. Resuscitation 2006;68(2):231-7.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. พันธมิตรร่วมพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/SubWebsite/Index/6

American Heart Association. AHA guidelines update for CPR and ECC [Internet]. 2015 [cited 2018 Jan 2] Available from: http://www.cercp.org/images/stories/recursos/Guias%202015/Guidelines-RCP-AHA2015-Full.pdf

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติ สาธารณสุข. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ธวัช ชญานนท์, ปิยวรรณ สุวรรณวงศ์, ศศิการต์ นิมมานรัชต์. ผลของการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพและปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2554;29:39-49.

วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561;8:15-23.

ประไพ บรรณทอง, พัชรี พงษ์พานิช, ณัฐพร ประกอบ. การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เข้ารับบริการในหน่วยงานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.chainathospital.org/chainatweb/assets/research/research1.pdf

มาลี คุณคงคาพันธ์, ฐิติพันธ์ จันทร์พัน. ลักษณะผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา 2558;16:53-66.

มัตถก ศรีคล้อ, มาลินี อยู่ใจเย็น, ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2562;35:239-51.

ปริญญา คุณาวุฒิ, นลินาสน์ ขุนคล้าย, บวร วิทยชำนาญ, บรรณาธิการ. สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี ค.ศ. 2015. กรุงเทพมหานคร: ปัญญมิตรการพิมพ์; 2558.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 22 ต.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.niems.go.th/1/Ebook?group=115&data_per_page=10&page=1

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner, 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press; 1998.

Gordon SE. We do; therefore, we learn. Training and Development 1993;47:47–52.

บุษบา ประสารอธิคม. การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วย ฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2560;29:128-40.

จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, วิดาพร ทับทิมศรี, ปัญจศิลป์ สมบูรณ์. ผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37: 180-92.

วริศรา เบ้านู. ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วย ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ กรณีพบผู้ป่วยหัวใจ หยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย 2562; 6:34-47.

จินตนา บัวทองจันทร์, เสมอจันทร์ ธีรวัฒน์สกุล, อุบล สุทธิเนียม. ผลของโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ต่อความสามารถในการช่วยฟื้นคืนชีพของบุคลากรสาย สนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561;10:69-82.

ดวงกมล หน่อแก้ว, ปาจรีย์ ตรีนนท์, ณัฐธยาน์ ชาบัวคำ, นวพล แก่นบุปผา, สำเร็จ เทียนทอง, ชนุกร แก้วมณี. ผลของโปรแกรมการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5:84-95.

แสงเดือน อภิรัตนวงศ์, ดวงพร ปิยะคง, ภัทรมนัส พงศ์- รังสรรค์, นภัสนันท์ ปิยะศิริภัณฑ์, ธิดารัตน์ คำบุญ, นิศากร โพธิมาศ, และคณะ. ผลของโปรแกรมการสอนช่วยชีวิต ขั้นฟื้นฐาน ต่อความรู้และทัศนคติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561;12:146-57.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31