ผลลัพธ์การให้บริการผู้ป่วยในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำพื้นที่ทุรกันดารเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ธนวิชญ์ จิรเดชพิทักษ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • ศิวนาฏ พีระเชื้อ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  • กัญจนี วชิรรังสิมันตุ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.15

คำสำคัญ:

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, การลำเลียงผู้ป่วยทางน้ำ, พื้นที่ทุรกันดาร, ปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำ บริเวณพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกลุ่มรอดชีวิตกับกลุ่มที่เสียชีวิตหลังสิ้นสุดการรักษา เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย 30 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เก็บข้อมูลจากบันทึกสรุปการปฏิบัติการลำเลียง ผู้ป่วยทางน้ำทุกรายจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน 4 แห่งบริเวณพื้นที่ทุรกันดารเหนือเขื่อนภูมิพล (หินลาด นาไฮโสมง สันป่าป๋วย และอูมวาบ) นำส่งโรงพยาบาลสามเงา หรือโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ช่วงเวลา 1 มกราคม พ.ศ. 2562 - 30 กันยายน พ.ศ. 2564 พบว่า มีผู้ป่วยรอดชีวิต 28 ราย เสียชีวิต 2 ราย กลุ่มโรคที่พบ 3 อันดับแรกคือ อุบัติเหตุ โรคทางเดินอาหาร หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยส่วนมากมีระดับความรุนแรง ESI level 3 (ร้อยละ 40.0) ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้าน หมู่บ้านหินลาดนาไฮ (ร้อยละ 66.7) สองในสามของผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลสามเงา (ร้อยละ 66.7) ร้อยละ 90.0 ใช้เรือหางยาว นำส่งด้วยทีมปฏิบัติการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล พบว่า ระดับความรุนแรงของผู้ป่วย สถานพยาบาลปลายทาง ประเภทของเรือ และทีมปฏิบัติการมีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นการศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นข้อมูลปัจจุบัน ลักษณะการลำเลียงทางน้ำในพื้นที่เหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก นำมาช่วยปรับการวางแผนพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ในอนาคตเพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

Phetprasert T, Peeracheir S. Factors associated with 24- hour mortality of patients rescued by emergency aeromedical team of Somdejprajaotaksinmaharaj Hospital.Lampang Medical Journal 2020;41:58-67.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. เขื่อนภูมิพล [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2549&Itemid=117

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา. สภาพสังคม อบต. บ้านนา อ. สามเงา จ. ตาก [อินเทอร์เน็ท]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://bannatak.go.th/page.php?id=1209

น.อ.ธนษวัฒน์ ชัยกุล. คู่มือแนวทางปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำ และทะเล. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2557.

อัจฉริยะ แพงมา, ณญาดา เผือกขำ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินด้วยอากาศยาน พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2557.

National Institute of Emergency Medicine. Guidelines to follow the rules, criteria and procedures to sort and prioritize emergency care at the emergency room, according to the Emergency Medical Board [Internet]. 2013 [cited 2021 Sep 30]. Available from: https://www.niems.go.th/1/Ebook/Detail/269?group=21

Gilboy N, Tanabe P, Travers DA, Rosenau AM, Eitel DR. Emergency Severity Index, Version 4: Implementation Handbook. AHRQ Publication No. 05-0046-2. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality; 2005.

Caliskan C, Altintas KH. Time, island and ambulance type characteristics of patient transfers from two Turkish islands: Gökçeada and Bozcaada. Int J Emerg Serv 2020;9:47-55.

Polot O, Tanriverdi A, Eneyli M, Gurler S, Genc S, Oguz A, et al. Emergency department triage decision: personnel and parameters. Journal of Ankara University Faculty of Medicine 2018;71:152-7.

Juban NR, Reyes JL, Ongkeko AM. Inter-island health service boat project [Internet]. 2018 [cited 2021 Oct 10]. Available from://http:www.socialinnovationinhealth.org/case-studies/inter-island-health-serviceboat-project/

Bate A, Bellis A. Provision of healthcare on English islands. Debate pack [Internet]. 2018 [cited 2021 Oct 10]. Available from: https://researchbriefings.files.parliament.uk/documents/CDP-2018-0156/CDP2018-0156.pdf

คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน. ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องอำนาจหน้าที่ขอบเขตความรับผิดชอบและข้อจำกัดในการปฏิบัติการแพทย์ของผู้ช่วยเวชกรรมตามคำสั่งการแพทย์หรือการอำนวยการ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130, ตอนพิเศษ 33 ง (ลงวันที่ 12 มีนาคม 2556).

สภาการพยาบาล. ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยข้อจำกัด และเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564.ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138, ตอน พิเศษ 53 ง (ลงวันที่ 10 มีนาคม 2564).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31