การรักษาภาวะดีเคเอในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตามแนวทางการรักษาของสมาคมต่อมไร้ท่อ เด็กและวัยรุ่นไทย ปี 2563

ผู้แต่ง

  • พิริยา จันทราธรรมชาติ กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • แสงแข บุญรอด กลุ่มงานกุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jemst.2021.17

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด, ภาวะสมองบวม, ภาวะ hyperchloremic metabolic acidosis, ภาวะ persistent acidosis

บทคัดย่อ

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับเลือดเป็นกรด (diabetic ketoacidosis, DKA) เป็นภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต การรักษามีหลายแนวทาง โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้ใช้แนวทางการรักษาของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย ปี 2563 เป็นหลัก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะ DKA ในเด็กและวัยรุ่นที่เข้ารับการรักษาในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ปี 2563 เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้า รับการรักษาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษา และภาวะแทรกซ้อนที่พบ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบผู้ป่วยภาวะ DKA จำนวน 31 ราย เกิดภาวะ DKA ทั้งหมด 37 ครั้ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับรุนแรง (27 ราย, ร้อยละ 73) เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จำนวน 28 ราย (ร้อยละ 90) และเป็นผู้ป่วยที่วินิจฉัยเบาหวานครั้งแรก 20 ราย (ร้อยละ 54) อาการนำที่พบส่วนใหญ่ คือ การขาดน้ำ (ร้อยละ 92) หายใจหอบ (ร้อยละ 76) อาเจียน (ร้อยละ 73) มีปัจจัยกระตุ้นที่พบมากสุด คือ การติดเชื้อ (ร้อยละ78) ผู้ป่วยเบาหวานรายเดิมพบปัจจัยจากการฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอหรือขาดยา 11 ราย (ร้อยละ 30) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการคัดกรองเข้ารักษาในแผนกฉุกเฉิน และได้รับสารน้ำทดแทนในช่วงแรกด้วย 0.9%NaCl ใน 1-2 ชั่วโมงแรก เริ่มได้รับอินซูลินทางหลอดเลือดดำเฉลี่ย 1.4 ชั่วโมง ขนาด 0.1 unit/kg/hour (ร้อยละ 70) ระยะเวลาเฉลี่ยที่พ้น ภาวะ DKA คือ 14.8±5.8 ชั่วโมง ภาวะแทรกซ้อนที่พบ คือ โพแทสเซียมในเลือดต่ำพบได้มากที่สุด คือ 23 ราย (ร้อยละ 62) hyperchloremic metabolic acidosis พบ 14 ราย (ร้อยละ 37.8) persistent acidosis 6 ราย (ร้อยละ 16) พบผู้ป่วยมีภาวะสมองบวม 2 ราย และ ไตวายเฉียบพลัน 2 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ปัจจัยทีกระตุ้นให้เกิดภาวะ DKA คือ การติดเชื้อ และการขาดยา ในผู้ป่วยเบาหวานเดิม การให้ความรู้และทักษะในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยจะช่วยลดการเกิดภาวะ DKA ได้ แสดง ว่า การรักษาภาวะ DKA ตามแนวทางของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย ปี 2563 ยังสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้อยู่ จำเป็นต้องมีการติดตามและเฝ้าระวังในผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดระหว่างการรักษา

References

สมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย. แนวทางการรักษาภาวะ diabetic ketoacidosis และ hyperglycemic hyperosmolar state ในเด็กและวัยรุ่น 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้น เมื่อ 8 มิ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200122141138.pdf

ชมรมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย. แนวทางการ รักษาภาวะ diabetic ketoacidosis และ hyperglycemic hyperosmolar state ในเด็กและวัยรุ่น 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 8 มิ.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: http:// 110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/diabetes/knowledge/9.pd

Wolfsdorf JI, Glaser N, Agus M, Fritsch M, Hanas R, Rewers A, et al. ISPAD clinical practice consensus guidelines 2018: diabetic ketoacidosis and the hyperglycemic hyperosmolar state. Pediatr Diabetes 2018;19 (Suppl 27):155-77.

อาภาพร แต้นวกุล. การดูแลรักษาตามแนวทางการดูแลภาวะ ดีเคเอในเด็กและวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมาร เวชศาสตร์ของแพทยสภา]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2560. 35 หน้า.

Al-Obaidi AH, Alidrisi HA, Mansour AA. Precipitating factors for diabetic ketoacidosis among patients with type 1 diabetes mellitus: the effect of socioeconomic status. Int J Diabetes Metab 2019;25:52-60.

Kuppermann N, Ghetti S, Schunk JE, Stoner MJ, Rewers A, McManemy JK, et al. Clinical trial of fluid infusion rates for pediatric diabetic ketoacidosis. N Eng J Med 2018;378:2275-87.

Williams V, Jayashree M, Nallasamy K, Dayal D, Rawat A. 0.9% saline versus Plasma-Lyte as initial fluid in children with diabetic ketoacidosis (SPinK trial): a dou ble-blind randomized controlled trial. Crit Care 2020; 24:1.

Nallasamy K, Jayashree M, Singhi S, Bansal A. Lowdose vs standard-dose insulin in pediatric diabetic ketoacidosis: a randomized clinical trial. JAMA Pediatr 2014; 168:999-1005.

Lee LK, Ko CH, Lee CY, Hung CN, Fong NC, Yiu WL. Prevalence and potential risk factors of hypokalemia in pediatric patients with diabetic ketoacidosis. Int J Pediatr Endocrinol 2015; 2015(Suppl 1):8.

Rewers A, Kuppermann N, Stoner MJ, Garro A, Bennett JE, Quayle KS, et al. Effect of fluid rehydration strategy on correction of acidosis and electrolyte abnormalities in children with diabetic ketoacidosis. Diabetes Care 2021; 44:2061-8.

Toledo I, Wainsztein R, Mannucci C, Ferraro M, Ferreira J, Balestracci A. Impact of the hyperchloremic component of metabolic acidosis on the patient’s hydration status and the treatment of diabetic ketoacidosis. Arch Argent Pediatr 2018;116:365-70

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31