ผลของการฝึกโปรแกรม SAQ ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีท่ีเล่นกีฬาฟุตบอล

Main Article Content

เศวตฉัตร วันนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการฝึกโปรแกรม SAQ ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่เล่นกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่เล่นกีฬาฟุตบอล จำนวน 20 คน ทำการแบ่งกลุ่มโดยการสุ่มแบบง่ายและเรียงลำดับจากน้อยไปมาก แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน คือ กลุ่มทดลองจำนวน 10 คนที่ใช้การฝึกโปรแกรม SAQ ที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ใช้เวลาในการฝึก 60 นาที เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ใช้ชีวิตประจำวันปกติจำนวน 10 คน นำข้อมูลความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว หลังทดลองสัปดาห์ที่ 6 มาวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


        ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรม SAQ ที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ อบอุ่นร่างกาย 5 นาที ฝึกความเร็ว 25 นาที ฝึกความคล่องแคล่วว่องไว 25 นาที และการคลายอุ่น  5 นาที มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.5-1 ซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหาระดับดี และมีความเที่ยงของการฝึกความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวจากกลุ่มที่มีลักษณะเดียวกับกลุ่มทดลอง เมื่อพิจารณาจากการทดสอบแล้วไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ     หลังทดลอง 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ฝึกโปรแกรม SAQ มีค่าเฉลี่ยความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ใช้ชีวิตประจำวันปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุรศักดิ์ เกิดจันทึก. (2554). การศึกษาเรื่องการศึกษาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายกีฬาวอลเลย์บอล. กรุงเทพมหานคร: การกีฬาแห่งประเทศไทย.

ชาญวิทย์ ผลชีวิน. (2558). คู่มือการฝึกสอนกีฬาฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร: กองวิชาการการกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.

ภัทรดล เพชรพลอยนิล. (2560). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วของนักกีฬาฟุตบอลชาย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร: มีเดีย เพรส.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2545). หลักการฝึกยกน้ำหนักเพื่อความสุดยอดของนักกีฬา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิทธิศักดิ์ บุญหาญ. (2555). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกเอส เอ คิว ที่มีผลต่อความเร็วในการวิ่ง 50 เมตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรนนท์ ขี่ทอง. (2562). ผลของการฝึก เอส เอ คิว2 รูปแบบ ที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและสมรรถนะการรู้คิดของนักเรียนระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Jovanovic, M., Sporis, G., Omrcen, D., and Fiorentini, F. (2011). Effects of speed, agility, quickness training method on power performance in elite soccer players. J Strength Cond Res, 25(5), 1285-1292.

Johnson, S., Burns, S., and Azevedo, K. (2013). Effects of Exercise Sequence in Resistance-Training on Strength, Speed, and Agility in High School Football Players. International Journal of Exercise Science, 6(2), 126-133.

Ferguson, B. (2014). ACSM’s Guidelines for Exercise Testing and Prescription 9th Ed. 2014. J Can Chiropr Assoc, 58(3), 328.

วัฒนพงษ์ ศรีธรรม. (2557). ผลของโปรแกรมการฝึก SAQ เพื่อเสริงสร้างควาคล่องแคล่วในกีฬาบอลเลย์บอลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2565, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46603.

อติเทพ วิชาญ. (2562). ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เทิดทูล โตคิรี. (2561). ผลการฝึกด้วยโปรแกรม เอส เอ คิว ที่มีผลต่อความคล่องแคล่วว่องไวและความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลระดับอุดมศึกษา. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (สทมส.), 24(2), 70-83.

สุรพล รักษาทรัพย์. (2563). ผลของโปรแกรมการฝึกรูปแบบ เอส เอ คิว ตามแนวคิดของเฮลที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอลชายโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตชลบุรี

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนามกีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ: ซัน แพคเกจจิ้ง.