การเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวแบบผสมผสานที่มีผลต่อเวลาในการเคลื่อนที่ ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย

Main Article Content

คชา อุดมตะคุ
รัตนา ยอดหาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวแบบผสมผสานที่มีผลต่อเวลาในการเคลื่อนที่ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลชายมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย จำนวน 24 คน อายุ 19 - 25 ปี ประสบการณ์แข่งขัน 8.12 ± 2.13 ปี ส่วนสูงเฉลี่ย 176.75 ± 2.93 เซนติเมตร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มควบคุมได้รับการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวแบบปกติ ส่วนกลุ่มทดลองฝึกความคล่องแคล่วว่องไวแบบผสมผสานร่วมกับการถ่วงถุงทราย  โดย กลุ่มตัวอย่างได้รับการฝึกจำนวน 3 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีเวลาในการเคลื่อนที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ในทางตรงกันข้ามการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาจะพบในกลุ่มทดลองเท่านั้น (p<0.05)

Article Details

How to Cite
อุดมตะคุ ค., & ยอดหาญ ร. (2022). การเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวแบบผสมผสานที่มีผลต่อเวลาในการเคลื่อนที่ ของนักกีฬาวอลเลย์บอลชายมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย, 1(2), 1–11. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/SPSC_Network/article/view/150
บท
บทความวิจัย