ผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วที่มีต่อนักฟุตบอลสมัครเล่นทีมสโนว์แมน เอฟซี

Main Article Content

พันธกานต์ นิลสมบูรณ์
สิทธิพนธ์ สุนทร
รชานนท์ รักษายศ
วุฒิชัย หมอยา
วัชราภรณ์ ธรรมรักษา
ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วที่มีต่อนักฟุตบอลสมัครเล่นทีมสโนว์แมนเอฟซี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักฟุตบอลสมัครเล่นชายทีมสโนว์แมนเอฟซี อายุระหว่าง 18-21 ปี เลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน ทำการฝึกในโปรแกรมความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ระยะเวลาการฝึก 60 นาที ในวันจันทร์, วันพุธ และวันศุกร์ ช่วงเวลา 17:30-18:30 น. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็ว (ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบภายในกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการฝึก โดยใช้สถิติที (pair sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.54 และหลังการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.87 ตามลำดับ 2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความเร็วของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.18 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.56 และหลังการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.80 ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความคล่องแคล่วว่องไว ภายในกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึกและหลังการฝึก มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยความเร็ว ภายในกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการฝึกและหลังการฝึก ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า ผลการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วที่มีต่อนักฟุตบอลสมัครเล่นทีมสโนว์แมนเอฟซี มีความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นในเรื่องของความเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Azmi, K., & Kusnanik, NW. (2018). Effect of Exercise Program Speed, Agility, and Quickness (SAQ) in Improving Speed, Agility, and Acceleration. Journal of Physics Conference Series, 947(1), 012043.

Bloomfield, J., Ackland, TR., and Eliott, BC. (1994). Applied anatomy and biomechanics in Sport. Australia: Melbourne Black Well Scientific publication.

Bompa, T. (1999). Periodization Training for Sports. IL: Human Kinetics.

Boonroen, P. (2019). Study results between Z and S pattern running training affecting agilities of football players. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Bunhan, S. (2012). Effects of plyometric training combined with SAQ training on speed in running 50 meters. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Chantasorn, N. (2019). Agility Development by Plyometric Training. Humanities, Social Sciences, and Arts, 12(5), 578-598. (In Thai)

Department of Physical Education. (2014). Athletics coach’s manual. Bangkok: Physical Education and Sports Personnel Development Office. (In Thai)

Kamutsri, T. (2017). Strengthening physical fitness. Bangkok: Media Press Ltd. (In Thai)

Khamprommarach, S. (2017). Agility Training [Online]. Retrieved January 31, 2024, from: https://popfitnessstudio.blogspot.com/2017/12/agility-training.html

Kamlangtawee, J. (2017). Effects of SAQ training on agility in badminton players. Master of Health and Physical Education Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Kraitin, T. (2009). The effect of combination training upon speed and agility of football players. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2002). Principles of weightlifting training for the ultimate in athletes. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2005). Principles and techniques of athletics training. Bangkok: Thaimit Printing. (In Thai)

Namphonkrang, M. (2020). Effect of SQ training on the speed of the students in Burapha University. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Panichram, T. (2017). Effects of plyometric training and SAQ training on 50 meter running speed. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Phoothai, S. (2020). The Results of Agility Training Program Affecting Volleyball Playing Movement Ability of Upper Primary School Students in Chai Nat Province. Master of Education Thesis. Suphanburi: National Sports University Suphanburi Campus. (In Thai)

Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Sportverlag, B. (1983). Track and Field. Illinois: German Democratic Republic.

Vives, D., & Roberts, J. (2005). Training for Speed, Agility, and Quickness. USA: Human Kinetics.