ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดขาคู่ ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Main Article Content

เจนภพ ประฏิทานะโต
จักรพงษ์ เกิดสีทอง
ธนวัฒน์ ใจสุข
ธารา น้อยเสนา
ธนบดี มีชัย
ธนวรรณพร ศรีเมือง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลและเปรียบเทียบผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดเท้าคู่ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง ทำการฝึก 2 วัน ๆ ละ 5 ท่า ๆ ละ 30 นาที วันจันทร์และวันศุกร์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมฝึกพลัยโอเมตริกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (pair sample t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความสามารถในการกระโดดขาคู่ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ก่อนการฝึก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 53.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.22 และหลังการฝึกพบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 57.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.06 และ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของความสามารถในการกระโดดขาคู่ของนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ก่อนและหลังการฝึก พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปได้ว่า การฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความสามารถในการกระโดดขาคู่ของนักกีฬาบาสเกตบอลชายสามารถส่งผลต่อการกระโดดขาคู่ของนักกีฬาเพิ่มขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Yasiersat, C. (2022). Effects of plyometric training combined with weight training on leg muscle power of football players. Christian University Journal, 28(2), 118-130. (In Thai)

Hiranrat, S. (2016). Building muscle. Bangkok: Thaimit Printing. (In Thai)

Kapkerd, S. (2008). Effects of plyometric training on the ability to jump with double legs jump. Master of Science Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Khuhana, P., & Kanjanasorn, W. (2020). The effect of plyometric training on flying side kicks in taekwondo poomsae athletes. Journal of Education Burapha University, 31(3), 122-133. (In Thai)

Gingsomklang, J., & Kriakaeo, C. (2023). Effects of plyometric training with rubber on muscle strength and physical fitness performance of students school Border Patrol in Chanthaburi Province. Ramphaibarni Research Journal, 17(1), 165-177. (In Thai)

Kritphet, T. (2002). Plyometric training on muscle power. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Limsamran, A. (2020). Effect of plyometric and plyometric with agility on muscle power and agility in kabaddi players. Master of Education Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University. (In Thai)

Malihuan, L. (2014). Comparison of plyometric training programs on sand and firm surfaces on vertical jumping ability of athletes. Master of Science Thesis. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)

Phidet, C., Kasiyaphat, A., & Treesopanakorn, K. (2020). The effect of plyometric training on upper strength and power in male volleyball players. Journal of Health, Physical Education and Research, 46(2),35-45. (In Thai)

Phungern, A., & Yimlamai, T. (2021). Effects of plyometric and eccentric training on achilles tendon stiffness in male long-long-distance runners. Journal of Sports Science and Health, 22(2), 217-229. (In Thai)

Pramatthakorn, W., & Pramatthakorn, A. (2002). Sports Science. Bangkok: Thai Watthana Panich. (In Thai)

Ratchatranon, W. (2014). Social science research techniques. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Sports Authority of Thailand. (2012). Basic national kabaddi instructor course. Bangkok: Sports Authority of Thailand. (In Thai)

Srimuang, T., Japa, T., & Butaka, T. (2022). The plyometric training on thigh strength in youth male volleyball players Wapipathum school Mahasarakham. Journal of Research and Development Institute Rajabhat Maha Sarakham University, 9(3), 615–626. (In Thai)

Yawichai, M. (2015). Effects of Agility and Muscle Power Training on Running Speed in Athletes: Pilot Study. Master of Science (Sports Science). Chiang Mai: Chiang Mai University. (In Thai)