ผลของโปรแกรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนเขตเมืองนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่เป็นกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนและเพื่อเปรียบเทียบผลองค์ประกอบของร่างกายนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเริ่มอ้วนและอ้วน ที่มีอายุ 12 - 16 ปี กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 45 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้โปรแกรมได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ได้รับคำแนะนำเป็นรายบุคคล และได้รับการติดตามทางไลน์กลุ่ม ในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และวัดความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคอ้วน 10 ข้อ การประเมินพฤติกรรมป้องกันโรคอ้วน 20 ข้อ และการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายด้วยเครื่องinbody 270 ที่สามารถบอกได้ถึงการเสริมสร้างมวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อโครงร่าง มวลไขมันในร่างกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และคะแนนรวมการเจริญเติบโตของร่างกายก่อนเข้าโครงการ โดยทำการประเมินทั้งก่อนและหลังการใช้โปรแกรมเพื่อเปรียบเทียบผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและองค์ประกอบของร่างกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
- หลังการใช้โปรแกรม ระดับความรู้และทักษะในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองของนักเรียนสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
- 2. การประเมินภาวะโภชนาการก่อนและหลังใช้โปรแกรม ไม่มีความแตกต่างกัน
- การวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกายที่บอกถึงการเสริมสร้างมวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อโครงร่าง มวลไขมัน เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย และคะแนนรวมการเจริญเติบโตของร่างกาย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
Autchariya. (2023). World Obesity Day, 7 suggestions to far away from obesity [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://www.thaihealth.or.th/world-obesity-day (In Thai)
BBC NEWS. (2023). Found a way to speed up hormones to help burn fat, solving the problem of "belly fat". BBC NEWS [Online]. Retrieved January 22, 2024, from: https://www.bbc.com/thai/articles/cmj4n425n78o (In Thai)
Brown, T., Moore, THM., Hooper, L., Gao, Y., Zayegh, A., Ijaz, S., Elwenspoek M, Foxen SC, Magee L, O'Malley C, Waters E, Summerbell CD. (2019). Interventions for preventing obesity in children. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 7. Art. No.: CD001871. DOI: 10.1002/14651858.CD001871.pub4. Retrieved September 25, 2023.
Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. (2015). Guidelines for screening, referring, and solving the problem of at-risk obese children in schools, public health facilities and DPAC clinic. Nonthaburi: Kaew Chaochom Media and Publishing Center. (In Thai)
Doctor Team MIDI CLINIC. (M.P.P.). Body Composition Analysis [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://midiclinic.com/body-composition-analysis/
Panuganti, KK., Nguyen, M., and Kshirsagar, RK. Obesity. (2023). National Library of Medicine National Center for Biotechnology information [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29083734/
Klongtalay, S., Suriyaphrom, K., and Sirikoonchayanont, S. (2020). Obesity in school-age children: causes and prevention. Medical Technologist, 48(3), 7447-7465. (In Thai)
MEGA We Care. (M.P.P.). 2 important nutrients Prevent osteoporosis and osteoarthritis [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://www.megawecare.co.th/content/5995/collagen-type-2-calcium-#h76sl016mbqq18ftgymbvtsln17ky4a7
Ministry of Public Health. (2018). Counseiing Techniques. Bangkok: Physical Activity Clinic (DPAC).
Ministry of Public Health. (2021). A guide to using growth benchmarks for children aged 6–19 years [Online]. Retrieved September 25, 2023, from:
https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/tinymce/Final (In Thai)
Petchkong, C. & Banchornhatthikit, P. (2019). Effects of Health Literacy Promoting Program with Social Media Used on Obesity Prevention Behavior among Overweight Mattayomsuksa 2 Students. Journal of Health Education, 42(2), 23–32. (In Thai)
Phyathai. (2021). Creatine strengthens muscle mass to keep it in good shape for a long time [Online]. Retrieved January 22, 2024, from: https://www.phyathai.com/th/article/3449 (In Thai)
Prawitsittikul, N. (2019). Obesity puts children at risk of high blood pressure [Online]. Retrieved January 22, 2024, https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ (In Thai)
Siamhealth. (M.P.P.). Mineral [Online]. Retrieved January 26, 2024,
https://www.siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/vitamin_and_mineral/mineral.htm. (In Thai)
Srinakharinwirot University. (2018). Health Literacy Scale for Thai childhood overweight [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: http://www.hed.go.th/linkHed/361
Tasnaina, P., Rungin, P., Promnarurittr, K., Sitthibannakul, B., Wong-arsa, O., and Onseedaeng, S. (2023). Body mass index and body fat percentage comparison among working-age individuals in mueang district, Sakon Nakhon province. Journal of Liberal Arts and Management Science Kasetsart University, 10(1), 133-146. (In Thai)
Thatchawongsanga, T., (M.P.P.). Body composition analysis [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://web.sut.ac.th/ces/2018/ces/happy/TANITA.pdf (In Thai)
The government public relations department. (2023). The Department of Health reveals that obese children are five times more likely to become obese adults. Joins hands with schools [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/169254 (In Thai)
The standard team. (2023). The Department of Health reveals that 1 in 3 obese Thai children in ASEAN, most of whom buy the food they like, Not looking at the principles of nutrition [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://thestandard.co/moph-thai-kids-obesity-stats/ (In Thai)
Wachirasaksiri, C. (2023). What are NCDs? A danger nearby that you know [Online]. Retrieved September 25, 2023, from: https://sirirajhsolutions.com/th/blog/non-communicable-diseases (In Thai)