ผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาของผู้สูงอายุในชุมชนเสนานิเวศน์โครงการ 1

Main Article Content

ศตวรรษ โสประเสริฐ
สุวเนตร ครรชิตนฤนาถ
คเชนทร์ ผลลำเจียก
ธงชัย มุ่งห้วยกลาง
วรเมธ ประจงใจ
ณัฐธิดา บังเมฆ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกตาราง 9 ช่องที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาในผู้สูงอายุชุมชนเสนานิเวศน์โครงการ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้สูงอายุชุมชนเสนานิเวศน์โครงการ 1 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ด้วยวิธีการเรียงสลับลำดับผลทดสอบความเร็วในการตอบสนองของเวลาปฏิกิริยาแบบตัวเลือก แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก จากนั้นให้กลุ่มทดลองฝึกโปรแกรมตาราง 9 ช่อง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน และกลุ่มควบคุมให้ดำเนินกิจกรรมปกติ ทำการเก็บข้อมูลการทดสอบเวลาปฏิกิริยา ก่อนและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ dependent sample t-test และ independent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีความเร็วในการตอบสนองของเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายและแบบตัวเลือก ความสามารถในการตอบสนองอย่างถูกต้องของเวลาปฏิกิริยาอย่างง่ายและแบบตัวเลือกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบผลหลังการฝึกตาราง 9 ช่อง ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีความเร็วและความสามารถในการตอบสนองของเวลาปฏิกิริยาอย่างง่าย และความเร็วในการตอบสนองของเวลาปฏิกิริยาแบบตัวเลือก แตกต่างกันกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ส่วนความสามารถในการตอบสนองอย่างถูกต้องของเวลาปฏิกิริยาแบบตัวเลือกระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรส่งเสริมการใช้ตาราง 9 ช่องกับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้มีองค์ประกอบสมรรถภาพทางกายด้านเวลาปฏิกิริยาที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choombuathong, A., Chaitiamwong, R., Sanguansit, P., and Tothonglor, A. (2015). Effect of Aerobic Exercise on Reaction Time and Memory in the Elderly. Journal of Health Science of Thailand, 24(2), 283-295. (In Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2009). Situation Of Thai elderly. Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited. (In Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2016). Situation of Thai elderly. Bangkok: Printery Company Limited. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2007). Nine squares and Brain Development. Bangkok: Sintana Copy Center Company Limited. (In Thai)

Krabuanrat, C. (2015). Nine squares and Brain Development. Innovative agriculture collection of innovative research works on the occasion of the 72nd Anniversary of Kasetsart University. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai)

Leethongin, S. (2007). Move for health. Moh-Chao-Ban magazine, 29(337), 18-23. (In Thai)

Lorsuwannarat, T., Arpanutud, P., Raksuwan, A., and Pongbua, T. (2023). A Comparative analysis of aging policies in Norway, Japan, Singapore and Thailand. Journal of Public and Private Management, 30(1), 53-76. (In Thai)

Philuke, P. (2009). Effects of training on nine squares different sized on reaction time. Master of Science Thesis. Kasetsart University. (In Thai)

Rakbumrung, W., & Sang-on, P. (2022). The factors influencing acceptance of applications by the elderly. Journal of Innovation and Management, 7(2), 7-23. (In Thai)

Rueangrit, S., Sukwhan, A., Prajongjai, V., Riansoi, Y., and Bangmek, N. (2023). Effects of nine squares training on speed in 5m-10m-30m and agility in youth soccer athletes. Journal of Sports Science and Health Innovation, Rajabhat University Group of Thailand, 2(2), 24-35. (In Thai)

Sport Science Bureau. (2022). Manual for cognitive function testing. Bangkok: Sport Science Bureau, Institute of Physical Education and Sports Human Development. (In Thai)

Tangwongsirikun, K., Hamapandha, W., and Soipetkasem, C. (2021). The effect of swimming with nine squares training on autistic children’s reaction time. Academic Journal of Thailand National Sports University, 13(2), 150-159. (In Thai)

Youyen, M. (2022). Effect of nine squares training with music on balance and agility of children with special needs: integration learning. Academic Journal of Thailand National Sports University, 14(3), 241-252. (In Thai)