การจัดการรายกรณีโรคจากการทำงาน โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก ของบุคลากรหน่วยงานโภชนศาสตร์โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ประภาภรณ์ ดวงมณี

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลเป็นสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ไม่ต่างกับสถานประกอบการอื่น ๆ งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางร่วมกับการจัดการรายกรณี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ในหน่วยโภชนศาสตร์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 43 คนเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-กรกฎาคม พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงานในโรงพยาบาล แบบประเมินระดับความปวด แบบการจัดอันดับโอกาสของการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ หรือการเจ็บป่วย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา พบความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ ร้อยละ 76.74 ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงร้อยละ 86.05 พบผู้เจ็บป่วยจากการทำงาน จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 4.65) จึงเลือก 1 ราย มาจัดการรายกรณี โรคจากการทำงาน Tennis elbow ผู้ป่วยชายไทยอายุ 50 ปี ทำหน้าที่เลี้ยงอาหารผู้ป่วยสามัญ มีอาการปวดข้อมือขวา และนิ้วหัวแม่มือ    เป็น ๆ หาย ๆ มา 3 ปี นำบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัยการจัดการผู้ป่วยรายกรณี โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของโอเร็ม การดูแลบริหารจัดการรายนี้ ใช้เวลา 6 เดือน พบว่า กระบวนการทำงานการใช้กล้ามเนื้อ แขน ขา มือ ตักอาหาร 238 ชั่วโมงต่อเดือน จากอายุงาน 25 ปี ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับการเกิดโรคกระดูกกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก การประสานส่งต่อรักษา การติดตามฟื้นฟูสภาพ การวางแผนร่วมกับหัวหน้างาน ผู้ป่วยอาการปวดแขนทุเลา สามารถทำงานหน้าที่เดิมแผนกเลี้ยงอาหารสามัญ แต่ปรับการตักอาหารเป็นการซีลถาดอาหารแทน และมีการหมุนเวียนหน้าที่กันในแผนก ส่งเสริมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเข้างานและหลังเลิกงาน เพื่อให้มีการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการทำงาน ทำให้สามารถกลับมาทำงานหน้าที่เดิม ตำแหน่งเดิมได้ ข้อเสนอแนะคือ การมีแผนเชิงรุก การประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรรายบุคคลทุกปี และการตรวจสุขภาพประจำปี จะทำให้สามารถตรวจพบผู้ที่เจ็บป่วยจากการทำงานและใช้บทบาทของพยาบาลอาชีวอนามัยในการจัดการผู้ป่วยรายกรณีได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการตรวจประเมินการดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการตรวจประเมินการดำเนินงานการประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2563). แนวทางการดำเนินงานศูนย์สุขภาพดีองค์รวม. สมุทรปราการ: ศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสมุทรปราการ.

กลุ่มงานอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค. (2560). แนวทางการจัดบริการ อาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ. (2561). สภาพแสดล้อมในการทำงานและความเสี่ยงต่อสุขภาพ:หลักการและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลอาชีวอนามัย. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์บอเรชั่น จำกัด.

กรองกาญจน์ บริบูรณ์. (2564). ปัญหาสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(2), 221-236.

สุวินันท์ ทวีพิริยะจินดา. (2558). ท่าทางการทำงานที่เป็นอันตรายและความชุกของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างอันเนื่องจากคนทำงานในคนทำงาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). มาตรฐานการพยาบาลอาชีวอนามัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเพ็ญวานิสย์.

พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ อัญชลี สงวนรักษ์ และอดุลย์ บัณฑุกุล. (2559). การจัดการให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานหลังจากเจ็บป่วย.กรุงเทพมหานคร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย. (2562). คู่มือพยาบาลอาชีวอนามัย:ประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). 10 ท่าพื้นฐานยืดเหยียดร่างกาย. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://dol.thaihealth.or.th/Media/Index/6ec8b50c-3d27-e711-80dc-00155dddb706?isSuccess=False

คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). Stretching การยืดเหยียดกล้ามเนื้อนั้นสำคัญไฉน. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1386

วลัยลักษณ์ ศิริศิลป์. (2564). ป่วยบ่อยเหนื่อยง่ายเวียนหัวทำยังไงดี. กรุงเทพมหานคร: เพชรประกาย.

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. (2564). คู่มือการลงรหัส ICD-10 โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม (ฉบับปรับปรุง 2560). ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.