แรงจูงใจในการเล่นฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเล่นฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอล จำนวน 24 คน ได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักกีฬาฟุตซอลโรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ จำนวน 4 ด้าน (ด้านความรักความถนัดและความสนใจ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านรายได้และผลประโยชน์ และด้านเกียรติยศชื่อเสียง) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเล่นฟุตซอล ของนักกีฬาฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โรงเรียนจันทรุเบกษาอนุสรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
ประโยค สุทธิสง่า. (2541). แบบทดสอบมาตรฐานทักษะฟุตบอล. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ประพันธ์ เปรมศรี และไมตรี กุลบุตร. (2548). ประวัติและการตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2548). ประวัติกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
กิตติศักดิ์ มีเจริญ. (2550). แรงจูงใจในการเล่นฟุตซอลของนักกีฬาฟุตซอลรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ภาคกรุงเทพมหานครที่เข้าร่วมการแข่งขันควิกจูเนียร์ฟุตซอลไทยแลนด์แชมป์เปี้ยนชิพ ครั้งที่ 7 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กษมา สุขุมาลจันทร์. (2560). แรงจูงใจในการเล่นกีฬาชักกะเย่อของนักกีฬาชักกะเย่อในกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 32 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสุพรรณบุรี.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2552). การวัดผลการศึกษาและสถิติเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2557). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Maslow, AH. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.
จาตุรนต์ ลิ่มหัน. (2561). แรงจูงใจในการตัดสินใจเล่นกีฬาฟุตซอลอาชีพ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประเชิญ รอดบ้านเกาะ. (2543). แรงจูงใจในการเลือกเล่นเซปักตะกร้อของนักกีฬาหญิง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชิต เมืองนาโพธิ์. (2534). เอกสารประกอบการสอน พล 437 จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาลิศา ศุภกาญจนากร. (2563). แรงจูงใจในการเล่นกีฬาของนักกรีฑาคนพิการทีมชาติไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2565-2570). สืบค้น 22 ธันวาคม 2565, จาก https://www.sat.or.th/wp-content/uploads/2021/11