แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาโบว์ลิ่งของนักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาโบว์ลิ่งของนักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติ จำนวน 22 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็นชายจำนวน 14 คน และหญิงจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาโบว์ลิ่งที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาโบว์ลิ่งทีมชาติไทยมีแรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาโบว์ลิ่ง โดยรวมอยู่ระดับมาก (4.12±0.60) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความรัก ความถนัด และความสนใจ อยู่ในระดับมาก (4.49±0.42) รองลงมาคือ ด้านสุขภาพ อยู่ในระดับมาก (4.33±0.69) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก (4.18±0.54), ด้านเกียรติยศชื่อเสียงและด้านความก้าวหน้าในอนาคต อยู่ในระดับมาก (3.81±0.75) และด้านรายได้ และผลประโยชน์ อยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย (3.79±0.64)
ดังนั้นการที่จะผลักดันให้บุคคลอื่น ๆ สนใจการเล่นกีฬาโบว์ลิ่งจนเข้าสู่ระดับทีมชาติควรพยายามปลูกฝังให้บุคคลนั้น มีความรัก ความถนัดและสนใจ การมีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับจากผู้คนรอบข้าง รวมไปถึงการมีเงินรางวัลค่าตอบแทน ถึงจะสามารถสร้างแรงจูงใจในการเล่นโบว์ลิ่งได้มาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ก่อนเท่านั้น
References
เฉลียว บุญยงค์. (2538). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา PE469 Bowling. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิกร ใจไหว. (2547). แรงจูงใจและการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศของนักกีฬาโบว์ลิ่งและผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬา (การศึกษาค้นคว้าอิสระด้วยตนเอง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Jackson, E. (2020). Bowling together? Practices of belonging and becoming in a London ten-pin bowling league. Sociology, 54(3), 518-533.
Iso-Ahola, SE., & St Clair, B. (2000). Toward a Theory of Exercise, Motivation, 52, 131–147.
สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.
เสาวลี แก้วช่วย. (2558). แรงจูงใจของเยาวชนในการเลือกเล่นกีฬา. กรุงเทพฯ: คณะสังศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มลิวัลย์ ผิวคราม เบญจวรรณ สายสีนวล พิชัย ผิวคราม และจำเป็น เกิดดำ. (2550). การศึกษาองค์ประกอบแรงจูงใจในการเป็นนักกีฬาของสถาบันกีฬา. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2565, จาก
file:///C:/Users/jojoe2528/Downloads/tnsu_toon,+%7B$userGroup%7D,+4.+The+Study+of+Motivation+Factors%20(1).pdf
Teo, EW., Khoo, S., Wong, R., Wee, EH., Lim, BH., and Rengasamy, SS. (2015). Intrinsic and extrinsic motivation among adolescent ten-pin bowlers in Kuala Lumpur, Malaysia. Journal of human kinetics, 45(1), 241-251.
Koumpoula, M., Tsopani, D., Flessas, K., and Chairopoulou, C. (2011). Goal orientations and sport motivation, differences between the athletes of competitive and non-competitive rhythmic gymnastics. Journal of sports medicine and physical fitness, 51(3), 480-488.
ณกร มีคำ. (2549). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาว่ายน้ำของนักว่ายน้ำรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปี สังกัดสโมสรในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2549 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทนงศักดิ์ ลิ่มเนี่ยว และประภาส มันตะสูตร. (2561). แรงจูงใจในการเป็นนักกีฬากรีฑาตัวแทนจังหวัดสตูล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 13(2), 75-84.
สุพัชริน เขมรัตน์. (2562). จิตวิทยาการกีฬาพื้นฐาน: แนวทางการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Weinberg, RS., & Gould, D. (1999). Foundations of sport and exercise psychology. (2nd ed). Champaign, IL: Human Kinetics.
Morris, T., Clayton, H., Power, H., and Han, J. (1995). Activity type differences in participation motives. Australian Journal of Psychology, 47, 101-102.
เพ็ญพรรณ มูลมงคล. (2548). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬายกย้ำหนักของนักกีฬายกน้ำหนักในโรงเรียนกีฬา ปีการศึกษา 2547 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบัติ กาญจนกิจ และสมหญิง จันทรุไทย. (2542). จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chin, NS., Khoo, S., and Low, WY. (2012). Self-determination and goal orientation in track and field. Journal of human kinetics, 33, 151.
อังคณา บุญเสม. (2550). แรงจูงใจในการเลือกเล่นฟุตบอลของนักกีฬาหญิงในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 34 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.